Integrity Legal - Law Firm in Bangkok | Bangkok Lawyer | Legal Services Thailand Back to
Integrity Legal

Legal Services & Resources 

Up to date legal information pertaining to Thai, American, & International Law.

Contact us: +66 2-266 3698

info@integrity-legal.com

ResourcesCorporate and Tax AdvisoryThailand Tax Lawนโยบายภาษีของประเทศไทยควรจะ "เดินตามตัวอย่างของสิงคโปร์และฮ่องกงหรือไม่"?

นโยบายภาษีของประเทศไทยควรจะ "เดินตามตัวอย่างของสิงคโปร์และฮ่องกงหรือไม่"?

For the English transcript of this video, please go to the following link: 

https://www.legal.co.th/resources/corporate-and-tax-advisory/thailand-tax-law/should-thai-tax-policy-follow-example-singapore-and-hong-kong/

วีดีโอเรื่องนี้จะกล่าวถึงภาษีอีกแล้ว ซึ่งผมสังเกตเห็นว่า เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นที่มีการพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง ที่ผ่านมาผมได้ทำวีดีโอเรื่องการเข้าเมืองไว้หลายม้วนซึ่งมีหลายคนพูดถึงมันแบบไม่ตั้งใจกับผมว่า ทุกคนให้ความสนใจในเรื่องภาษี ซึ่งทำให้ผมรู้สึกแปลกใจอยู่เสมอ เพราะผมไม่รู้สึกกังวลกับเรื่องภาษี อาจจะเป็นเพราะผมช่วยเหลือผู้คนในเรื่องนี้มาหลายปีแล้ว แต่ผู้คนทั่วไปส่วนใหญ่จะไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องภาษีอยู่ตลอดเวลา สำหรับพวกเราที่บริษัทจะรู้สึกสบายๆกับเรื่องนี้ ผมทราบดีว่าเรื่องนี้ทำให้หลายคนอารมณ์เสีย บางคนจะตกตะลึงกับมันเมื่อคิดถึงการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆของนโยบายภาษี ผมก็คงได้แต่บอกว่า "เดี๋ยวมันก็ผ่านไปเอง" สำหรับกลุ่มคนส่วนใหญ่แล้ว ผมไม่คิดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรใหญ่โต อย่างไรก็ตามก็อาจจะมีผลกระทบบ้างกับบางคน ผมไม่คิดว่าการเปลี่ยนแปลงแบบนี้ จะไม่มีผลกระทบกับคนบางประเภท 

อย่างไรก็ตาม ผมสังเกตว่ามีหลายคนที่คุยกันในอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะผู้ที่มีความรู้เรื่องระบบภาษีของประเทศอื่น แล้วก็มานั่งถกกันว่าระบบภาษีของประเทศไทยจะไปในแนวทางไหน  ซึ่งผมขอพูดตรงๆเลยนะว่า พวกเขาไม่รู้จริงหรอก; สำหรับผม ถ้าผมไม่รู้ ผมก็จะบอกว่าไม่รู้ ผมหวังว่าผู้ที่รับฟังก็คงจะเข้าใจในนัยนี้ และอย่างที่เราเคยพูดไว้แล้วโดยไม่ต้องชี้แจงเพิ่มเติมว่า ผมเองก็ยังลังเลที่จะพูดหรือคาดการณ์ได้อย่างมั่นใจว่ามันจะออกมาในรูปแบบใด  แต่ยังไงก็ขอให้พึงระลึกไว้ว่า ที่บริษัทของเรา เรามีแผนกที่ดูแลเรื่องภาษี เรามีแผนกที่ทำเกี่ยวกับบัญชีทั้งประเภทบริษัท และบัญชีส่วนตัวของชาวต่างชาติ ซึ่งเราทำมาหลายปีแล้ว และผมต้องบอกก่อนว่า ทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับการตีความในตัวบทภาษาไทย มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ชาวต่างชาติบางคนพูด เพราะฉะนั้น ต้องจำไว้ว่า เมื่อคุณกำลังค้นหาข้อมูลในประเด็นนี้มันก็จะออกมาแบบนี้คือ ทุกคนจะพูดว่า “สนธิสัญญาว่าด้วยการหลีกเลี่ยงภาษีซ้อนระบุว่า ........”  ซึ่งในความคิดของคุณอาจจะเห็นว่ามันใช่แล้ว แต่ในระบบของประเทศไทยจะต้องได้รับการตีความเสียก่อนที่ทฤษฎีจะกลายไปเป็นการปฏิบัติ ไม่ใช่เป็นไปตามความเข้าใจของฝรั่งบางคน เพราะฉะนั้น ผมไม่รู้ว่าจะพูดยังไงดี ผมไม่ว่าอะไรหรอกถ้าจะมีคนพูดเรื่องนี้ในฐานะที่มันเป็นข่าวชิ้นหนึ่ง แต่ผมเห็นหลายคนที่พูดแบบสรุปจบเลยว่า "สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือแบบนี้" คุณรู้อะไรไหม ผมเบื่อจริงๆ ผมเบื่อหน่ายจริงๆกับทัศนคติของชาวต่างชาติทั้งหลายที่นี่ คือชาวต่างชาติที่มาประเทศไทย ซึ่งผมเองก็ไม่รู้ว่าทำไมพวกเขาถึงวิ่งวนอยู่กับความเชื่อตามสัญชาตญาณของตัวเองว่าเรื่องต่างๆในประเทศไทยมันจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่จริงๆแล้ว ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย ประเทศไทยมีศาล ประเทศไทยมีกรมสรรพากร หน่วยงานเหล่านั้นต่างหากที่จะเป็นผู้ที่วินิจฉัยสุดท้ายของเรื่องนี้แล้วกำหนดเป็นกฎระเบียบขึ้นมา แล้วองค์กรเหล่านั้นก็คือผู้ที่จะต้องตัดสินใจในขั้นตอนสุดท้ายอีกด้วย ไม่ใช่ชาวต่างชาติคนใดคนหนึ่งที่ลงมาจากภูเขา แล้วมากล่าวว่ามันจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ มันไม่ได้เป็นอย่างนั้นสักหน่อย  

ผมคิดจะทำวีดีโอเรื่องนี้หลังจากที่ผมได้อ่านบทความจาก Pattaya Mail, pattayamail.com, บทความชื่อว่า: Thailand’s proposal to tax foreign income next year could end up in court. ข้อเสนอของประเทศไทยที่จะเริ่มเก็บภาษีรายได้ที่นำเข้าจากต่างประเทศในปีหน้า อาจจะไปลงเอยที่ศาล ก่อนอื่นผมขอบอกว่า หัวข้อนี้ไม่ได้ชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นแต่อย่างใด ประเทศไทยไม่ได้เก็บภาษีกับรายได้ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ คือว่า มันแค่มีความเป็นไปได้ที่จะประเมินภาษีสำหรับผู้ที่มีถิ่นที่อยู่ทางภาษีในประเทศไทย และนำเงินเข้ามาในประเทศ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2024 ไม่ได้เก็บภาษีกับทุกอย่าง แต่อาจจะเรียกเก็บภาษีกับบางอย่างเท่านั้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการตีความภาษาไทย กล่าวต่อ: "ความคิดเห็นจากบริษัทกฎหมายในกรุงเทพฯแบ่งเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่าชาวต่างชาติทั่วไปไม่มีอะไรที่จะต้องกังวลในเรื่องการพำนักอาศัยในประเทศไทยด้วยเงินที่ได้เสียภาษีแล้วในประเทศบ้านเกิดของตน" ผมขอเริ่มจากจุดนี้เลย ผมไม่ทราบหรอกว่า ใครอยู่ฝ่ายไหนในการแบ่งฝ่ายครั้งนี้ เพราะผมไม่ได้อยู่ในฝ่ายใดทั้งนั้น ผมแค่ยืนอยู่บนเส้นกลาง ผมว่ามันไม่ได้ผลหรอกที่จะใช้วิธีถกเถียงเพื่อระงับความไม่ลงรอยกันหรือที่เรียกว่า “วิภาษวิธี” ในเรื่องนี้ วิธีนี้ไม่เคยได้ผล มันควรจะต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป โดยอยู่บนพื้นฐานของสภาพแวดล้อมของกรณีนั้นๆ ผมเห็นหลายคนที่พูดถึงเรื่องนี้แบบไม่แยแส ใช้คำพูดกว้างๆ โดยยึดมั่นในทัศคติเชิงบวกถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้น เขาพูดแต่เพียงว่า “เอาล่ะ มันจะเป็นแบบนั้น” ไม่ใช่ครับ กฎหมายไม่ได้ทำงานแบบนั้น บางครั้งผมก็ไม่รู้ว่าจะพูดให้ผู้คนเข้าใจได้อย่างไร กล่าวต่อ: "มีหลายคนชอบอ้างถึง สนธิสัญญาว่าด้วยการหลีกเลี่ยงภาษีซ้ำซ้อน (double taxation treaties) ที่ประเทศไทยได้ลงนามร่วมกับอีก 60 ประเทศ แต่คนอีกส่วนหนึ่งแสดงความเห็นว่า สนธิสัญญาว่าด้วยการภาษีซ้ำซ้อนที่ว่านั้น มีความแตกต่างกัน และไม่ได้สร้างความมั่นใจในจุดที่น่ากังวลที่ได้รับความสนใจจากสาธารณะชนในประเทศไทย" ครับ ตามหลักแล้วก็อาจจะใช่หรือไม่ใช่ ทั้งนี้ ก็ต้องดูเป็นกรณีไป สำหรับผู้คนส่วนใหญ่ก็คงจะไม่ได้รับผลกระทบอะไร ไม่ว่าจะในทางใดทางหนึ่งก็ตามจากเรื่องนี้  แม้ว่าผมจะเคยพูดไว้ในวีดีโอม้วนอื่นว่า ผมมองเห็นฉากทัศน์ที่ผู้ต้องการต่ออายุวีซ่าชั่วคราว รวมทั้งผู้ที่เกษียณอายุแล้ว อาจจะเจอกับสถานการณ์ที่ต้องยื่นเอกสารแสดงการคำนวนภาษี เป็นเอกสารเพิ่มเติมในกระบวนการเข้าเมือง ซึ่งดูแล้ว ผมคิดว่าน่าจะออกมารูปแบบนั้น นั่นหมายความว่าคุณมีภาระที่จะต้องเสียภาษีอยู่รึป่าว ใช่ไหม? อาจจะไม่ แต่ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ แล้วแต่สถานการณ์  เรื่องนี้ไม่ได้เป็นเรื่องอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช่หรือไม่ใช่ และก็ไม่ใช่วิภาษวิธี เพียงแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย แล้วกฎหมายก็จะถูกนำมาใช้ในแต่ละกรณี มันก็จะเป็นอย่างที่พูดกันว่า "ค้นหาข้อเท็จจริงและข้อสรุปของกฎหมาย" นั่นคือสิ่งที่จะเกิดขึ้น

ข้อความที่ขอยกมาอีกคือ: "ไม่ต้องพูดถึงเอกสารที่ชาวต่างชาติจะต้องกรอกในแต่ละปีเพื่อที่จะยืนยันต่อกรมสรรพากรถึงสถานะที่ได้รับการยกเว้น" อันนี้ผมขอแย้ง มันไม่ได้เกี่ยวกับการที่จะโน้มน้าวให้สรรพากรเชื่อ คุณอาจจะได้รับการยกเว้นก็จริง แต่คุณก็ยังต้องยื่นภาษีอยู่ดี กลาวต่อ: "มีบางคนเสนอว่าควรที่จะนำเงินก้อนใหญ่โอนเข้าประเทศไทยก่อนสิ้นปี 2023" กล่าวต่อ: "ในขณะที่ เกมการรอเพื่อได้รับข้อมูลที่ชัดเจนก็ยืดเยื้อกันต่อไป" มันอาจจะลากยาวต่อไปไม่มีที่สิ้นสุดก็ได้ ถึงที่สุดแล้ว คุณจะต้องพูดถึงความโบราณของตัวบทกฎหมายในประเด็นของภาษี ลองดูในระบบของสหรัฐฯก็ได้ ผมศึกษามาอย่างละเอียด ซึ่งผมเคยบอกแล้วว่าผมเป็นทนายที่มีใบอนุญาตทำงานในศาลเกี่ยวกับภาษีของสหรัฐฯ ผมเคยที่จะต้องทำเรื่องภาษีของสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการนำ Trump Tax มาใช้ ผมอยากจะบอกว่า การค่อยๆอ่านและการค่อยๆพิจารณาตัวบทกฎหมายภาษีนั้นมันยากมากเลย และมันก็ไม่มีช่องทางที่จะให้ความชัดเจนมากสักเท่าไหร่ แล้วเราก็อาจจะไม่ได้รับความชัดเจนที่นี่ด้วยเช่นกัน กล่าวต่อ: "คำตอบที่ดีที่สุดสำหรับประเทศไทยก็คือทำตามตัวอย่างของสิงคโปร์และฮ่องกง ซึ่งภาษีรายได้ส่วนบุคคลจะคิดจากรายได้ที่ได้รับในประเทศของแต่ละคนเท่านั้น" นั่นคือสิ่งที่กำลังจะเกิดที่ประเทศไทย คือจะคิดจากเงินที่นำเข้ามาในประเทศไทยโดยผู้ที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย

ผมเคยกล่าวหลายๆครั้งแล้วว่า ประเทศไทยไม่ใช่เขตอำนาจศาลนอกชายฝั่ง ไม่ใช่เลย แต่สิงคโปร์และฮ่องกงเป็น มันจะเหมือนการนำลูกแอปเปิ้ลมาเปรียบเทียบกับลูกโบว์ลิ่ง มันไม่เหมือนกัน ประเทศฮ่องกง ตามประวัติศาสตร์ - ซึ่งผมสนใจประวัติศาสตร์ฮ่องกงมาก ผมชอบอ่านหนังสือเรื่องฮ่องกง - แต่ฮ่องกงจะมีประวัติเกี่ยวกับการเป็นดินแดนปลอดภาษี นั่นคือสิ่งที่เขาสร้างมันขึ้นมา และสิงคโปร์ก็ค้นพบสิ่งนี้เมื่อสถาปนาตัวเองขึ้นมาเป็นนครรัฐได้สำเร็จ หลังจากถูกขับออกจากมาเลยเซีย แล้วต้องไปสร้างช่องทางของตัวเองขึ้นมา โดยมุ่งเน้นเรื่องการให้บริการทางการเงินเป็นหลัก และทำตัวเหมือนเป็นดินแดนปลอดภาษีในเอเชียอาคเนย์ภายใต้บางสถานการณ์เท่านั้น นั่นไม่ใช่สิ่งที่เหมือนกันกับจุดยืนของประเทศไทยในโลกนี้ในเชิงคุณภาพ; ไม่เหมือนกันเลย วิญญูชนบสางคนอาจจะไม่เห็นด้วยกับผม แต่สำหรับคนที่พำนักอาศัยอยู่ที่นี่ตลอดเวลา ผมไม่ได้บอกว่าควรที่จะต้องเสียภาษีจนหมดตัวหรืออะไรแบบนี้เลย แต่ถึงที่สุดแล้ว ถ้าหากมีการเรียกเก็บภาษีจากการใช้ระบบสาธาณูปโภคโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย รวมทั้งการได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆในการพำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย ผมคิดว่าก็ควรจะมีการถกเถียงอย่างเหมาะสมว่าจะต้องได้รับการประเมินภาษีบางอย่างด้วยหรือไม่? ควรจะจ่ายเป็นจำนวนมากหรือเปล่า? ผมคิดว่าไม่ และตัวผมเองก็คือคนสุดท้ายในโลกที่จะมาโต้แย้งเพื่อให้มีภาษีเกิดขึ้น เพราะผมเองก็ไม่ได้ปลื้มกับภาษีแต่ผมเองก็ไม่ได้ไร้เดียงสา เหมือนกัน เราไม่สามารถที่จะสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ในประเทศไทยได้ เราไม่สามารถจะทำโครงการรถไฟความเร็วสูงได้  เราไม่สามารถทำโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่เพื่อรองรับสนามบินได้ แต่สิ่งที่กำลังทำอยู่ขณะนี้มันวิเศษมาก ผมขอบอก ผมดีใจมาก ที่ได้เห็นสิ่งต่างๆถูกสร้างขึ้นมาในประเทศไทยตลอดเวลา 5 ปีที่ผ่านมา แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาโดยเม็ดถั่ววิเศษหรืออะไรแบบนั้น ผู้คนต้องจ่ายเงินเพื่อที่จะทำสิ่งเหล่านั้น เพราะฉะนั้น ผมจึงคิดว่ามันก็เป็นการเหมาะสมแล้วที่คนที่พำนักอาศัยอยู่ที่นี่เป็นหลักอาจจะต้องมีความรับผิดชอบทางด้านภาษีบ้าง ขอย้ำอีกครั้งว่า มันไม่ใช่การที่จะต้องเสียภาษีในทุกอย่าง ไม่ใช่เก็บภาษีจากรายได้ที่คุณรับมาจากทั่วโลก ไม่เหมือนกับการเป็นคนอเมริกันที่ถึงแม้จะอาศัยในเมืองไทยและมีทรัพย์สินอยู่ในต่างประเทศ คนไทยจะมาเก็บภาษีเรา ไม่ใช่เลย ภาษีนี้จะเกิดขึ้นกับเงินที่ผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองไทยและมีถิ่นที่อยู่ทางภาษีในประเทศนำเข้ามา และสิ่งนี้ก็อาจจะเกิดหรือไม่เกิดก็ได้ เพราะฉะนั้น ผู้คนที่กำลังคุยกันว่าใช่หรือไม่ใช่ หรือใช้ความคิดแบบวิภาษวิธีนั้น มันไม่ใช่สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น มันจะเกิดขึ้นเป็นรายกรณีไป และขึ้นอยู่กับสถานการณ์แวดล้อมของกรณีนั้นๆด้วย

แล้วถ้าหากมีใครมีความสับสนเรื่องนี้ หรือรู้สึกว่ามึน ผมคิดว่าไม่ใช่เป็นความคิดที่เลวร้ายที่จะติดต่อผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย เพื่อที่จะได้รับมุมมองและคำแนะนำว่าควรจะเดินหน้าอย่างไรดี