Integrity Legal - Law Firm in Bangkok | Bangkok Lawyer | Legal Services Thailand Back to
Integrity Legal

Legal Services & Resources 

Up to date legal information pertaining to Thai, American, & International Law.

Contact us: +66 2-266 3698

info@integrity-legal.com

ResourcesThailand Real Estate & Property LawJurisprudenceปัญหาที่หนักอึ้ง ไม่ได้เป็น “ตัวกระตุ้น” นะ

ปัญหาที่หนักอึ้ง ไม่ได้เป็น “ตัวกระตุ้น” นะ

For the English transcript of this video, please go to the following link:

https://www.legal.co.th/resources/thailand-real-estate-property-law/jurisprudence/albatross-not-stimulus/

วีดีโอเรื่องนี้ เราตั้งเป็นคำถามว่า:“ตัวกระตุ้น” ไม่ได้เป็นสิ่งเดียวกันกับ ปัญหาที่หนักอึ้ง เรากำลังพูดถึงอะไรอยู่อ่ะ?

ผมคิดจะทำวีดีโอเรื่องนี้หลังจากที่ผมได้อ่านบทความจาก Bangkok Post, bangkokpost.com, บทความชื่อว่า: Cabinet approves plan for 2024 budget boost to fund B500 billion handout. คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแผนเพิ่มงบประมาณปี 2024 เพื่อเป็นทุนสำหรับการแจกเงิน 500,000 ล้านบาท. สิ่งแรกที่ผมอยากจะพูดก็คือ คนไทยต้องการให้มีการแจกเงินตั้งแต่เมื่อไหร่? แนวความคิดทั้งหมดนี้ก็คือ "เอาล่ะ เราจะแจกเงินให้กับประชาชนสักหน่อย" ครับ ถ้าคุณเริ่มด้วยการแจกเงิน มันก็เริ่มที่จะกลายเป็นปัญหาแล้วล่ะ ผมก็เข้าใจดีว่า มีผู้คนจำนวนหนึ่งที่อยู่ในสถานการณ์ที่อาจจะต้องการความช่วยเหลือ ผมเห็นใจคนพวกนี้จริงๆ และเข้าใจคนเหล่านั้น และหากผมตกอยู่ในสถานะแบบนั้น ผมเองก็คงต้องทำในสิ่งที่จำเป็นต้องทำเหมือนกัน แต่สิ่งหนึ่งที่เราเห็นได้จากสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศตะวันตกคือ หลังจากที่มีการแจกเงินก้อนใหญ่ไปแล้ว สถานการณ์มันก็จะแย่เลย 

ถึงกระนั้นก็ตาม ขอยกข้อความโดยตรงจากบทความมาดังนี้: "นายเผ่าภูมิ โรจนะสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่าที่ประชุม ครม.เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ได้อนุมัติแผนการเพิ่มงบประมาณปี 2024 อีก 122,000 ล้านบาท เพื่อช่วยกระตุ้นภาคเศรษฐกิจครัวเรือน” สิ่งแรกที่ผมต้องการถามคือ สิ่งนี้จะถือเป็นการกระตุ้นได้อย่างไร? ถ้าหากคิดดีๆ ผมเคยพูดไว้แล้วในวีดีโอม้วนอื่นคือ ประการแรก พวกเขากำลังจะเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินขึ้นเป็น 2 เท่า คือจะพิมพ์เงินสดเพิ่มอีก 2 เท่าของเงินสดที่มีอยู่ในระบบธนาคารในปัจจุบัน เราเคยทำวีดีโอเรื่องนี้มาแล้ว ซึ่งผมได้อ้างถึงคำพูดของนักเขียนใน Bangkok Post ที่ผมชื่นชมอยู่พอสมควร เพราะการวิเคราะห์ของเขาถูกต้องแม่นยำเป็นส่วนใหญ่  เรียกว่าแทงใจดำเลยล่ะ ถึงแม้เขาจะอิงเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์มากกว่าผมอยู่สักหน่อยก็ตาม แต่การวิเคราะห์ของเขาค่อนข้างตรงประเด็นมาก โดยเขาได้ชูประเด็นว่า เรากำลังจะสร้างปริมาณเงินมากขึ้นเป็น 2 เท่าของจำนวนที่อยู่ในระบบในปัจจุบัน ยิ่งไปกว่านั้น เขายังเห็นว่าผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นยังเล็กน้อยมากอีกด้วย เพราะฉะนั้นจึงเกิดคำถามขึ้นว่า การกระตุ้นนี้จะเป็นเหมือนคำในวรรณกรรมเกี่ยวกับ Ancient Mariner ที่เขียนโดย Samuel Taylor Coleridge (ถ้าผมจำไม่ผิด) ที่นก albatross เกือบจะได้ดึงกลาสีเรือคนหนึ่งลงไปใต้คลื่นพร้อมกับตัวมันเอง ซึ่งก็จะทำให้เขาจมน้ำตาย และสิ่งที่ต้องถามคือ "ไอ้ที่เรียกว่าการกระตุ้น" ที่ว่านี่จะเหมือนกับในวรรณกรรมหรือไม่ เพราะตอนแรกอาจจะดูดีและหลายคนอาจจะบอกว่า "โอ้ สิ่งนี้ดีจังเลย" จากนั้นพอเราพิมพ์แบง้ค์ออกมาและทำให้ประเทศเป็นหนี้เป็นจำนวนถึง 2 เท่าของเงินที่อยู่ในระบบธนาคารขณะนี้ มันยังไม่แจ่มแจ้งอีกหรือว่าต่อไปจะมีปัญหาอย่างแน่นอน ผมคิดว่ามันจะต้องเป็นอย่างนั้น และพูดตรงๆ ผมจำได้ว่าที่สหรัฐฯในยุค '90 มันเป็นการที่คนรุมประณามสาปแช่งต่อการแทรกแซงของรัฐบาลโดยเฉพาะตอนที่มีวิกฤติการณ์ทางการเงินครั้งใหญ่ย้อนไปในปี 2006, 7, 8, และ 9, เราได้เห็นการแทรกแซงของรัฐบาลโดยสิ่งที่เรียกว่า “มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ” (QE) ซึ่งก็เป็นอีกคำหนึ่งที่ใช้เรียกแทนการพิมพ์เงินออกมา – รวมทั้งคำว่า “มาตรการลดการถือครองตราสารหนี้ระยะสั้น แล้วเปลี่ยนมาเพิ่มการถือครองตราสารหนี้ระยะยาวแทน” (operation twist) และคำอื่นๆที่เกิดขึ้นตามมาหลังจากนั้นอีกด้วย มีตัวย่อบางคำที่ผมจำไม่ได้ว่าคืออะไรเช่น SOFR เป็นต้น รวมทั้งแผนอื่นๆที่ออกตามมา พูดกันถึงที่สุดก็คือ เรียกกันง่ายๆว่าเป็นการพิมพ์เงินออกมาเฉยๆและสร้างหนี้เพิ่มขึ้น เว้นเสียแต่ว่าคุณจะมองเห็นผลประโยชน์ทางสังคมที่จับต้องได้ เช่นการก่อหนี้จำนวนมหาศาลเพื่อที่จะสร้างระบบสาธารณูปโภคใหม่ขึ้นมา สังคมก็จะได้ประโยชน์จากสิ่งนั้น เป็นต้น แต่ในสถานการณ์นี้ ซึ่งเราพูดกันมาหลายครั้งแล้วในวิดีโอม้วนก่อนๆ ว่า จะมีเพียงการสร้างเงินดิจิตอลขึ้นมาและก็เกิดการยักเยื้องตามมา เพราะเอามาใช้กับทุกอย่างก็ไม่ได้, ไม่สามารถจะใช้ได้ในทุกสถานที่ และยังมีวันหมดอายุอีกด้วย หมายความว่ามีกลไกกำหนดเวลาซึ่งจะปิดตัวลงเมื่อหมดอายุ จะเรียกว่าอย่างนั้นก็ได้ ยิ่งไปกว่านั้น  มันมีการสร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังติดตามการทำธุรกรรมทางการเงินของคุณอย่างเต็มรูปแบบ และผมอยากถามว่า เราจะได้อะไรจากสิ่งเหล่านี้? ถ้าใครเคยดูเรื่อง Beverly Hills Cop ภาค 2 จะมีประโยคที่กล่าวว่า: "ไหนว่ามีไอ้เหล่าร้ายอยู่สุดปลายสายรุ้งไง? ผมได้อนุมัติค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด แล้วเราจะได้อะไรกลับมา?" ซึ่งผมเองก็จะถามเช่นกันว่า ที่รัฐบาลเรียกว่าเป็นการกระตุ้นน่ะ กระตุ้นอะไรครับ? อย่างที่เราเคยคุยกันแล้วว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมีเพียงการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการไปรอบๆ โดยที่ไม่มีการสร้างคุณค่าใหม่ๆขึ้นมาแต่อย่างใด มีเพียงการเคลื่อนย้ายไปรอบๆในระบบของมัน แล้วก็สร้างกิจกรรมที่ต้องเสียภาษีขึ้นมา เท่านั้นเอง

เพราะฉะนั้นผมจึงตั้งคำถามว่า: "สิ่งนี้คือการกระตุ้นหรือเป็นปัญหาอันหนักอึ้งกันแน่?"