Legal Services & Resources
Up to date legal information pertaining to Thai, American, & International Law.
Contact us: +66 2-266 3698
มีสนธิสัญญาทางไมตรีฉบับอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ?
For the English transcript of this video, please go to the following link:
ถ้าใครที่รับชมวีดีโอช่องนี้บ่อยๆ หรือแค่เห็นการเตือนโผล่ขึ้นมา เราจะพูดถึงเรื่องสนธิสัญญาทางไมตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สนธิสัญญาทางไมตรีระหว่างสหรัฐฯกับประเทศไทย (US-Thai Treaty of Amity) ซึ่งผมจะกล่าวถึงบ่อยครั้ง สำหรับผู้ที่ยังไม่ทราบ พลเมืองอเมริกัน หรือธุรกิจอเมริกันที่ต้องการเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย จะได้รับการปฏิบัติโดยสอดคล้องกับหลักปฏิบัติเยี่ยงคนไทย (National Treatment) ตามเงื่อนไขของสนธิสัญญาที่มีอยู่ คือจะได้รับการปฏิบัติเทียบเท่าคนที่ถือสัญชาติไทยเมื่อทำธุรกิจในประเทศไทย เพื่อการทำธุรกิจเป็นหลักนะครับ
ตามที่เราเคยพูดไว้ในวีดีโอม้วนอื่นไว้แล้วว่า มันไม่ได้หมายความว่าพลเมืองอเมริกันไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตการทำงานในประเทศไทย คือไม่ได้หมายความว่าคนอเมริกันจะสามารถประกอบอาชีพทุกชนิดในประเทศไทยได้เช่นเดียวกับคนไทย แต่สนธิสัญญาทางไมตรีนี้ เป็นผลประโยชน์อันสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับสัญชาติอื่นๆในด้านขีดความสามารถของการประกอบธุรกิจ สนธิสัญญาทางไมตรีนี้ ให้ผลลัพธ์เชิงบวกสำหรับผู้ที่กำลังมองหาการดำเนินการตามกระบวนการให้การรับรอง และสำหรับวีดีโอเรื่องนี้กำลังจะบอกว่าสนธิสัญญาทางไมตรีระหว่างไทยกับสหรัฐฯนี้ไม่ใช่สนธิสัญญาทางไมตรีฉบับเดียวที่มีอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ผมคิดจะทำวีดีโอเรื่องนี้หลังจากที่ผมได้อ่านบทความจาก Thai PBS World, thaipbsworld.com, บทความชื่อว่า: อีก 3 ชาติตกลงที่จะร่วมลงนามในสนธิสัญญาทางไมตรีและความร่วมมือของกลุ่มอาเซียน Three more nations accede to the ASEAN Treaty of Amity and ขอยกข้อความมาโดยตรงจากบทความดังนี้: "ตามถ้อยแถลงของประธานอาเซียนที่ได้เผยแพร่ในบ่ายวันนี้ คือวันพฤหัสบดี ระบุว่า จะมีอีก 3 ชาติอันได้แก่ ซาอุดิอเรเบีย สเปน และปานามา จะร่วมลงนามในสนธิสัญญาทางไมตรีและความร่วมมือของอาเซียน (TAC) ในปีนี้ ก่อนการประชุมสุดยอด ของกลุ่มอาเซียนครั้งที่ 43 ในเดือนกันยายน สนธิสัญญานี้ริเริ่มขึ้นในปี 1976 โดยได้รับแรงสนับสนุนจากทั่วโลก เพราะหลักการของมันตั้งอยู่บนการไม่ใช้ความรุนแรง และการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี อีกทั้งการไม่ก้าวก่ายในกิจการภายในของกันและกัน "
โดยสรุปแล้ว กลุ่มอาเซียนได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นกลุ่มที่น่าสนใจเพราะมีการร่วมกันอย่างหลวมๆ ผมพูดในเชิงบวกมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ผมไม่ได้บอกว่า มีองค์ประกอบบางอย่างในด้านความเข้มแข็งขององค์กรอาเซี่ยนขาดหายไป แต่มันเป็นความยืดหยุ่นต่างหากที่ทำให้อาเซียนมีประโยชน์มาก เมื่อผมมององค์กรนี้แล้วเปรียบเทียบกับสหภาพยุโรปในองค์รวม จะเห็นว่าอาเซียนเป็นองค์กรที่มีความยืดหยุ่นมากกว่า และมีความเคารพในเอกสิทธิ์ของแต่ละชาติ มากกว่าสหภาพยุโรป ในความคิดของผม ผมไม่ได้ช่างติช่างวิจารณ์สหภาพยุโรปจนเกินไปนะครับ แต่หลายๆอย่าง เช่นการรักษาค่าเงินสกุลต่างๆถูกปล่อยให้มีความยืดหยุ่นในระดับหนึ่ง และระดับการวางนโยบายเศรษฐกิจของชาติก้เช่นเดียวกัน ซึ่งผมไม่เห็นความคิดริเริ่มแบบนี้จะมีอยู่ในความร่วมมือของภูมิภาคอื่น แล้วยิ่งพอหันไปมองสหภาพแอฟริกาซึ่งก็ยิ่งหลวมเข้าไปใหญ่ ผมขอยืนยัน และถ้านำ 2 องค์กรนี้มาเปรียบเทียบกับอาเซียน ผมว่าอาจจะไม่มีความเหนียวแน่นเหมือนกับอาเซียน
เพราะฉะนั้น องค์กรอาเซียนนั้นเปรียบเสมือนอุณหภูมิที่กำลังดีในการต้มข้าว ถ้าหากคุณดูหมี 3 ตัวในนิทานเรื่อง Goldilocks - ข้าวต้มที่มีอุณหภูมิพอดีพอเหมาะ บางอันก็จะร้อนเกินไปบางอันก็จะเย็นเกินไป อันนี้กำลังดี - ดังนั้น อาเซี่ยนจึงเป็นเหมือนกับ การรวมกลุ่มทางการเมืองที่เป็นสากล เป็นองค์กรจัดตั้งนานาชาติ การจัดตั้งองค์กรนี้ต้องพูดว่าเหมาะเจาะ ทั้งในด้านการรักษาความเป็นตัวตนไว้ และการปฏิบัติงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้