Integrity Legal - Law Firm in Bangkok | Bangkok Lawyer | Legal Services Thailand Back to
Integrity Legal

Legal Services & Resources 

Up to date legal information pertaining to Thai, American, & International Law.

Contact us: +66 2-266 3698

info@integrity-legal.com

ResourcesThailand Real Estate & Property LawJurisprudence"หนังสือเดินทางคาร์บอน" เป็นความคิดที่เลวร้ายที่สุดหรือไม่?

"หนังสือเดินทางคาร์บอน" เป็นความคิดที่เลวร้ายที่สุดหรือไม่?

For the English transcript of this video, please go to the following link: 

https://legal.co.th/resources/thailand-real-estate-property-law/jurisprudence/are-carbon-passports-worst-idea-ever/

วีดีโอเรื่องนี้จะกล่าวถึงสิ่งที่เรียกว่า"หนังสือเดินทางคาร์บอน" ซึ่งผมว่ามันน่าสนใจที่จะเฝ้าดูอย่างคร่าวๆว่าในครึ่งทศวรรษนี้กำลังมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง เฝ้าดูความพยายามของพวกเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีทั้งหลายในกลุ่มผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดนานาชาติ หรือจะเรียกว่าอะไรก็แล้วแต่ ที่ได้เสนอความคิดขึ้นมาว่าเรามีความจำเป็นต้องมีหนังสือเดินทางหรือเอกสารการเดินทางหลายๆแบบ  ซึ่งจริงๆแล้ว เราไม่เคยต้องใช้อะไรพวกนี้มาก่อนเลย และผมก็ไม่เห็นว่าจะมีเหตุผลอะไรเลยด้วย ลองมาคุ้ยดูในรายละเอียดกัน 

ผมคิดจะทำวีดีโอเรื่องนี้หลังจากที่ได้อ่านบทความของ CNN,ที่ edition.cnn.com, หัวข้อชื่อว่า: It's time to limit how often we can travel abroad - ’carbon passports' may be the answer ถึงเวลาแล้วที่จะจำกัดว่าเราจะสามารถเดินทางไปต่างประเทศได้บ่อยแค่ไหน- การใช้ “พาสปอร์ตคาร์บอน” อาจจะเป็นคำตอบ ก่อนอื่นผมขอบอกว่าผมเบื่อมากเลยที่พวกพวกสื่อต่างๆตั้งสมมติฐานขึ้นมาว่า "ถึงเวลาที่จะจำกัดว่าจะสามารถเดินทางไปต่างประเทศได้บ่อยแค่ไหนแล้ว" ใครบอก? สิ่งนี้เป็นความคิดของใคร? เพราะอะไร? ผมเบื่อมากเลยกับคำว่า "ต้องเป็นเช่นนี้!" ไม่ใช่ มันไม่ใช่ว่าต้องเป็นเช่นนี้ ไม่มีใครเคยคิดหรอก ว่ามันถึงเวลาที่จะต้องจำกัดจำนวนครั้งที่เดินทางไปต่างประเทศแล้ว หัวข้อย่อยของเรื่องนี้คือ: หนังสือเดินทางคาร์บอนคืออะไร? ขอยกข้อความจากบทความมาโดยตรง ดังนี้: "ความคิดเกี่ยวกับการใช้หนังสือเดินทางคาร์บอนนั้น เน้นตรงที่ว่าผู้เดินทางแต่ละคนจะได้รับอนุมัติตัวเลขการปลดปล่อยคาร์บอนประจำปีไว้จำนวนหนึ่ง ซึ่งแต่ละคนจะต้องไม่ปล่อยคาร์บอนเกินจำนวนนั้น และตัวเลขเหล่านี้ก็จะนำมาแบ่งสันปันส่วนจำนวนการเดินทาง กล่าวต่อ: "แนวความคิดนี้อาจจะดูสุดโต่งไปหน่อย แต่ความคิดเกี่ยวกับการกำหนดจำนวนระดับคาร์บอนของแต่ละคนไม่ใช่ความคิดใหม่แต่อย่างใด" บทความนี้ยังกล่าวถึงประเด็นนี้ต่อไปเรื่อยเปื่อยด้วยศัพท์แสงที่เข้าใจยาก ไม่รู้เรื่อง แต่ผมก็ชอบระเบียบวิธีการในการนำเสนอเรื่องตามลำดับเหตุการณ์ของเขาโดยการที่เขาพูดว่า: "ความคิดนี้อาจจะดูสุดโต่งไปหน่อย แต่ความคิดเกี่ยวกับการกำหนดจำนวนระดับคาร์บอนของแต่ละคนก็ไม่ใช่ความคิดที่ใหม่แต่อย่างใด" มีความคิดเก่าๆจำนวนมากที่น่าสยดสยองอยู่: ลัทธิ Marxism ก็เป็นหนึ่งในนั้น อาทิ หลักคำสอนของลัทธิสังคมนิยม และประเทศเยอรมนีในยุค 1930 ซึ่งเหล่านั้นเป็นแนวความคิดแบบเก่า แปลว่าเป็นความคิดที่ดีหรือ? ผมถามจริงๆมันหมายความว่าอย่างไร? แล้วในขณะเดียวกัน เจ้าความคิดที่จะต้องมีการ "กำหนดปริมาณคาร์บอนประจำปีของแต่ละคนเนี่ย"? ทำไม? ยังไม่เคยมีใครอธิบายให้ผมเข้าใจด้วยหลักวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังการพูดแบบนี้เลย ไม่มีใครสามารถที่จะอธิบายให้ผมได้ว่า ทำไมการหายใจเอาแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจำนวนเล็กน้อย จะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตบนโลก ในความเป็นจริง มันดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง เพราะสิ่งที่พืชหายใจเข้าก็คือสิ่งที่เราหายใจออก และสิ่งที่พืชคายออกมาก็คือสิ่งที่เราหายใจเข้าไป  ผมจะไม่ทำให้เหมือนดิสนีย์มากเกินไป แต่มันดูเหมือนว่า หนังการ์ตูนเรื่อง The Lion King จะเป็นวัฏจักรของชีวิตในความเข้าใจของผม 

นอกจากนี้ มนุษย์ทุกคนก็มีคาร์บอนเป็นส่วนประกอบ และชีวิตทั้งหมดบนดาวเคราะห์นี้ก็มีกำเหนิดมาจากคาร์บอนไม่ใช่เหรอ? เพราะฉะนั้นการที่จะมีการ "กำหนดปริมาณคาร์บอน" หมายความว่าอย่างไร? หมายความว่าเราจะต้องมีการติดป้ายใส่ถุงเหมือนเป็นทาสหรือเปล่า ผมว่าทั้งหมดนี้เหลวไหลไร้สาระ แล้วเมื่อคุณอ่านเรื่องเหล่านี้ มันเหมือนกับ - จำได้ว่าผมเคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่งที่อยู่ในชั้นข้างหลังผมชื่อว่า Stasiland – แล้วตลอดเวลาหลายปีผมก็อ่านหนังสืออีกหลายเล่มเกี่ยวกับอดีตสหภาพโซเวียต ซึ่งผมก็เคยไปรัสเซียในปี '99 และได้พูดคุยกับผู้คนที่มีชีวิตอยู่ในสมัยนั้น ได้เห็นร่องรอยบางสิ่งบางอย่างที่หลงเหลือจากสมัยนั้น ซึ่งผมมองว่ามันไร้สาระที่จะนำไปสู่ระบบแบบนั้น ผมว่ามันไม่ได้ช่วยอะไรใครเลยและผมมั่นใจว่าคงมีอะไรตุกติก สักอย่างนึง จะต้องมีใครสักคนที่กำลังจะทำเงินจากสิ่งที่กำลังเสนอนี้ และผมอยากจะบอกว่าเมื่อหลุดออกมาจากสถานการณ์โควิดบอกได้เลยว่า มีเงินอยู่ในระบบการปกครองแบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จและกดขี่ เมื่อผู้คนจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน แม้จะเป็นแค่สิ่งเล็กๆน้อยๆ แต่ก็จะสามารถทำเงินได้จำนวนไม่น้อย แบบนั้นแปลว่ามันเป็นระบบที่ดีหรือ? ไม่ใช่เลย ไม่ว่าจะจินตนาการอย่างไรก็ไม่มองได้ว่าเป็นระบบที่ดี และถึงที่สุดแล้ว สิ่งนี้ไม่เพียงแต่จะประดิษฐานอยู่ในเอกสารการก่อตั้งสหรัฐอเมริกาซึ่งระบุไว้ว่าทุกคนมีสิทธิที่จะเดินทางนั้น แต่ยังปรากฎอยู่ในองค์การสหประชาชาติด้วย คือ กฎบัตรสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน สิทธิในการการเดินทาง ไม่มีตรงไหนเลยที่ระบุว่า คุณจะมีสิทธิ์ในการเดินทางได้ ก็ต่อเมื่อคุณเป็นสิ่งมีชีวิตที่ทำมาจากคาร์บอนเท่านั้น หรือนำเสนอสมมติฐานอะไรก็ตามเพื่อที่เขาจะสามารถดำเนินการต่อไปได้ บอกได้เลยว่า นี่เป็นความงี่เง่าอันใหม่ที่กำลังจะหักคอบังคับใช้กับพวกสามัญชนอย่างเราในโลก คือว่าเราจะต้องเจอกับการแบ่งสันปันส่วนในเรื่องการเดินทาง เพราะเราเป็นสิ่งมีชีวิตที่ทำมาจากคาร์บอน ประมาณนั้นเลยเชียว

กล่าวโดยสรุป สิ่งที่ผมไม่เข้าใจคือการนำเสนอสมมุติฐานของคำโต้แย้งเหล่านี้ และผลลัพธ์สุดท้ายคือการสรุปว่าเป็นการนำไปสู่การรวบอำนาจแบบเบ็ดเสร็จมากขึ้น ถึงที่สุดแล้วผมก็ยังมองไม่เห็นเลยว่ามันจะเป็นความคิดที่ดีได้อย่างไรที่จะต้องมี “หนังสือเดินทางคาร์บอน”