Legal Services & Resources
Up to date legal information pertaining to Thai, American, & International Law.
Contact us: +66 2-266 3698
อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยเรียกร้องให้มี "กฎหมายว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมืองไทย"
For the English transcript of this video please go to the following link:
วีดีโอเรื่องนี้จะกล่าวถึงสิ่งที่คงต้องเรียกว่า "กฎหมายว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมืองไทย" ผมคิดที่จะทำวิดีโอเรื่องนี้หลังจากได้อ่านบทความในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ จากbangkokpost.com, ชื่อเรื่องว่า: อดีตนายกรัฐมนตรีนายอานันท์ ฯ เรียกร้องให้มี กฎหมายที่มีพื้นฐานบนสิทธิของพลเมือง” ความว่า: "อดีตนายกรัฐมนตรี นายอานันท์ ปัญญารชุน ได้เรียกร้องให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อที่จะมั่นใจได้ถึงความเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์แบบและสิทธิพื้นฐานของพลเมือง นายอนันต์ได้กล่าวว่า มีการเปลี่ยนแปลงในทางบวกน้อยมากในประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิของประชาชนและการเรียกร้องสิทธิ์ในสังคมไทยยังไม่ได้รับการตอบรับ"
หัวข้อนี้น่าสนใจ และในสหรัฐฯ ผมเชื่อว่าพลเมืองอเมริกันส่วนใหญ่ถือว่าบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิ์ขั้นพื้นฐานของประชาชนเป็นสิ่งที่เป็นเรื่องปกติและมองว่าเป็นผลลัพธ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ในอดีตไม่เป็นเช่นนั้นและถ้าหากคุณย้อนกลับไปอ่านบทความใน เอกสารทางความคิดทางการเมืองอเมริกัน หรือ The Federalist Papers และการโต้ตอบทางจดหมายที่หลากหลายของบรรดาผู้คนที่เป็นผู้ร่างเอกสารที่เกี่ยวกับ คำประกาศอิสรภาพของสหรัฐฯ หรือ บทความของสมาพันธ์ (Articles of Confederation) ซึ่งต่อมากลายเป็นรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ และในที่สุดได้มีการประกาศรัฐบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง (Bill of Rights) จะเห็นว่ามีการเจรจาถกเถียงกันมากพอสมควรและประเด็นใหญ่ข้อหนึ่ง ที่เกี่ยวกับสิทธิพื้นฐานของพลเมือง คือ แนวคิดที่ว่า มันอาจจะก่อให้เกิดข้อสันนิษฐานว่า สิทธิทั้งหมดจะอยู่เฉพาะภายในกรอบสี่เหลี่ยมของเอกสารนั้นเท่านั้น หมายความว่า เฉพาะสิทธิต่างๆที่ระบุไว้ในเอกสารเท่านั้นที่จะมีผลโดยอัตโนมัติ และจะไม่รวมถึงสิทธิอื่นๆที่ไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าเป็นห่วง และในที่สุดก็ตกลงกันได้ในการปรับครั้งที่ 9 และครั้งที่ 10 พูดตามตรง ทุกวันนี้ผู้คนไม่ได้ให้ความสนใจเท่าที่ควรโดยเฉพาะในทางนิติศาสตร์ ซึ่งผมก็เข้าใจประเด็นนั้นเหมือนกัน
ในยุคสมัยที่เรามีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ผมคิดว่าผมชอบที่จะมีกฎหมายว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง มากกว่าที่จะไม่มี ถ้าจะกล่าวตามที่ท่านอดีตนายกพูดหรือตามที่บางกอกโพสต์พูดถึงก็คือ มันเป็นกฏหมายแห่งสิทธิขั้นพื้นฐาน เพื่อที่จะได้ไม่เจอปัญหาเหมือนกับ 2 ปีที่ผ่านมา ที่คลุมเครืออย่างมากว่า ผู้คนสามารถทำอะไรได้บ้าง หรือไม่สามารถทำอะไรได้บ้าง ระหว่างการที่ผู้คนมีสิทธิ์ที่จะทำอะไร กับการไม่มีสิทธิ์ที่จะทำอะไรนั้น มันมืดมัวมาตลอดเวลา
ในความคิดของผม เสรีภาพของประชาชนในประเทศไทยค่อนข้างจะอึมครึม ซึ่งเป็นประสบการณ์ส่วนใหญ่ของผม แต่โดยสรุป ผมเห็นด้วยอย่างมากกับแนวคิดของท่านอดีตนายก ผมคิดว่ามันจะดีมากทีเดียวถ้าจะมีการระบุสิทธิ์และความรับผิดชอบของประชาชนในประเทศไทยเอาไว้อย่างชัดเจนเพื่อที่ทุกคนจะได้รู้จุดยืนของตัวเอง แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้จะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ต้องคอยดูกันต่อไป ขอให้คอยติดตามความคืบหน้าของวิวัฒนาการในเรื่องนี้ในช่องรับฟังนี้