Legal Services & Resources
Up to date legal information pertaining to Thai, American, & International Law.
Contact us: +66 2-266 3698
ประเทศไทยยินยอมให้มีการแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงินจริงหรือ?
For the English transcript of this video, please go to the following link:
วีดีโอเรื่องนี้จะกล่าวถึงการธนาคารและการติดตามธุรกรรมทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพในประเทศไทย ผมคิดจะทำวีดีโอเรื่องนี้หลังจากที่ผมได้อ่านบทความจาก Pattaya Mail, pattayamail.com, บทความชื่อว่า: Does Thailand really want humble expats anymore? "ประเทศไทยยังต้องการชาวต่างชาติที่ถ่อมตัวอีกจริงๆหรือ? ขอยกข้อความโดยตรงจากบทความดังนี้: "สิ่งที่น่าบันทึกไว้คือ", ก่อนที่ผมจะเข้าเรื่อง ผมขอแนะนำให้ผู้ที่กำลังรับชมวีดีโอเรื่องนี้ให้ไปอ่านรายละเอียดในบทความ ซึ่งตามเคย มีบทความหลายเรื่องใน Pattaya Mail, ที่มีความลึกซึ้งมาก ผมจึงอยากแนะนำผู้ที่รับชมวีดีโอเรื่องนี้ให้ไปอ่านบทความนี้ ขอยกข้อความโดยตรงจากบทความดังนี้: "สิ่งที่น่าบันทึกไว้ก็คือประเทศไทยเป็น 1 ในประมาณ 140 ประเทศที่ได้ตกลงให้มีการแชร์ข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศให้กันระหว่างธนาคารต่างๆที่อยู่ภายใต้องค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ซึ่งต่อต้านแหล่งหลบเลี่ยงภาษีและการฟอกเงิน"
สิ่งแรกที่ผมต้องการบอกคือประเทศไทยไม่เคยเป็น “แหล่งหลบเลี่ยงภาษี” แนวความคิดที่ว่าเราจำเป็นต้องมานั่งทำโน่นนี่นั่นเพิ่มเติมเช่น วางมาตรการติดตามการโอนเงินไปให้บุคคลต่างๆในประเทศไทยในเวลานี้ ผมว่าจะเริ่มไร้สาระ และผมคิดว่าเป็นผลพวงมาจาก OECD อย่างไม่ต้องสงสัย ในขณะที่ กลุ่มประเทศ BRICS ที่อยู่เบื้องหลัง ก็พูดว่า "ประเทศไทยมาร่วมวงกับเราสิ” ซึ่งผมสงสัยมากว่าถ้าประเทศไทยเดินสายกลางและร่วมมือกับทั้งสองฝ่าย อะไรจะเกิดขึ้น? อะไร? เราจะจบเห่กับระบบเผด็จการ ที่เป็นธาตุแท้ของทั้งสองหน่วยภายนอกประเทศนี้หรือเปล่า? ผมอยากเห็นประเทศไทยจัดการกับระบบการธนาคารของตัวเองภายในประเทศ และไม่ต้องไปสนใจว่าคนภายนอกจะคิดอย่างไรหรือจะพูดอย่างไรเกี่ยวกับระบบการทำงานของธนาคารของเรา มากกว่า ผมบ่นเรื่องนี้พอแล้วครับ
แต่ผมว่าการเฝ้าตรวจติดตามของธนาคารจะต้องเกิดมากขึ้นแน่ๆ และประเทศเหล่านี้ก็จะแชร์ข้อมูลต่างๆให้กันโดยใช้แพลตฟอร์มในการแชร์ข้อมูลของ OECD อย่างสอดประสานกัน ซึ่งเป็นอะไรอย่างหนึ่งที่เขาจัดไว้ในระดับชาติ เป็นการรวมหัวกันรุมผู้เสียภาษีทั้งหลายของโลกก็ว่าได้ ผมชอบจริงๆกับแนวคิดเรื่อง "ต่อต้านแหล่งหลบเลี่ยงภาษีและการฟอกเงิน"!! สิ่งแรกที่จะบอกคือเรื่องการฟอกเงิน คำนี้ เป็นคำที่ใช้ในการโฆษณาชวนเชื่ออย่างได้ผลมากเท่าที่ผมเคยเห็นมา ผมมั่นใจว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆ เหมือนกับคำว่า "สงครามต่อต้านยาเสพติด" ก็มีการหัวเราะเยาะและล้อเลียนกัน แต่คำว่า "ฟอกเงิน" ซึ่งเกิดขึ้นมาต่อจากคำว่า “สงครามต่อต้านยาเสพติด” นั้น มันดูเหมือนจะถูกทำนองคลองธรรมโดยแท้ แต่ผมก็ไม่คิดว่ามันเป็นคำที่ถูกต้องจริงๆแต่อย่างใด ผมมีความเชื่อว่ามนุษย์มีสิทธิ์ที่จะปกปิดบางอย่าง; ผมเชื่อว่ามนุษย์มีสิทธิ์ของความเป็นส่วนตัวและไม่จำเป็นที่จะต้องมีคนมาคอยเฝ้ามองในทุกครั้งที่มีการทำธุรกรรมทางการเงินเล็กๆน้อยๆ
กลับมาพูดถึงเรื่อง "การฟอกเงิน" คำนี้เกิดขึ้นในปี 1987 และถ้าหากคุณคิดดูดีๆ มันคือการที่รัฐบาลกำลังบอกเราว่าเขามีสิทธิ์หรือมีส่วนได้เสียในการทำหน้าที่เป็น “พี่เลี้ยงเด็ก” เพื่อตรวจสอบว่าเราจะเคลื่อนย้ายเงินของเราอย่างไรบ้าง ซึ่งผมก็ไม่ได้เห็นด้วยวะทีเดียว - คือผมเข้าใจในเรื่องการซุกซ่อนเงินที่ได้มาอย่างผิดกฏหมาย ผมเข้าใจ และผมก็เข้าใจด้วยว่ารัฐจะต้องกังวลเรื่องนี้ แต่การกระทำบางอย่างก็เกินเลยไปมากกับคนที่แค่ต้องการใช้ชีวิตไปวันๆ และถ้าจะขอยืมประโยคของ Blues Brothers, ก็คือ "มีชีวิตอยู่ ขับเคลื่อนต่อไป และอยู่ให้รอด" ตอนนี้การกระทำของรัฐบาลผมว่าทำเกินเลยจนดูน่าขันมากด้วยซ้ำ ผมหมายถึงการเฝ้าตรวจติดตามอย่างเผด็จการทั้งหมดนี่แหละ ตอนนี้รัฐบาลต้องการให้เป็นสังคมที่ไร้เงินสดในทุกที่ และต้องการที่จะเห็นการทำธุรกรรมทางการเงินทั้งหมด ถามจริงๆเถอะว่าเพื่ออะไร? หรือว่าเพียงเพื่อความสะใจที่ได้เป็นพี่เลี้ยงเด็กงั้นหรือ? ผมไม่เชื่อว่ามีผู้คนมากมายที่กำลังสาละวนอยู่กับการโยกย้ายเงินอย่างผิดกฎหมายและ "ฟอกเงิน" อยู่วันแล้ววันเล่า จริงๆแล้ว ความหมายง่ายๆของคำว่าฟอกเงินก็คือ การที่เราเคลื่อนย้ายเงินของเราเองไปๆมาๆในวิธีการที่รัฐบาลไม่ชอบนั่นเอง