Legal Services & Resources
Up to date legal information pertaining to Thai, American, & International Law.
Contact us: +66 2-266 3698
ประเทศไทยจะมีท่าเรือใหม่สำหรับเรือสำราญจริงหรือ?
For the English transcript of this video, please go to the following link:
วีดีโอเรื่องนี้จะกล่าวถึงท่าเรือที่จะสร้างขึ้นใหม่เพื่อรองรับเรือสำราญในประเทศไทย และผมคิดจะทำวีดีโอเรื่องนี้เมื่ออ่านบทความจาก Bangkok Post, bangkokpost.com, บทความชื่อว่า: มีการสนับสนุนการสร้างท่าเรือสำราญมูลค่า 7,400 ล้านบาทที่เมืองพัทยา ขอยกข้อความมาโดยตรงดังนี้: "กรมเจ้าท่าจะเจรจากับคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เพื่อขออนุมัติแผนการสร้างท่าเรือที่เมืองพัทยาด้วยงบประมาณ 7,400 ล้านบาท ซึ่งจะสามารถรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ได้ครั้งละ 2 ลำ ปัจจุบันนี้เรือสำราญจะต้องเทียบท่าที่กรุงเทพฯ และแหลมฉบัง ซึ่งในความเป็นจริงคือท่าเรือที่ใช้ในการลำเลียงสินค้าจึงขาดความสะดวกที่ควรจะมีในท่าเรือสำหรับเรือสำราญ นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่คล้ายกันที่อยู่ระหว่างพิจารณาที่เกาะสมุยและกระบี่เพราะปริมาณของการท่องเที่ยวโดยเรือสำราญกำลังเพิ่มขึ้นทั่วโลก เอเชียและประเทศไทยตอนนี้ได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันดับแรกสำหรับผู้ที่เดินทางโดยเรือสำราญ และมีผู้ให้บริการทางด้านเรือสำราญและธุรกิจที่เกี่ยวข้องในฮ่องกงและสิงคโปร์ก็ได้แสดงความสนใจในโครงการนี้
สิ่งนี้น่าสนใจมาก และผมคิดว่าในระยะยาวคงจะเป็นสิ่งที่ดีมากๆ สำหรับประเทศไทย และสิ่งนี้คือสิ่งที่สามารถที่จะร่วมงานกับธุรกิจของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกโดยเฉพาะท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งมีการกล่าวถึงในบทความนี้ แต่แหลมฉบังเป็นท่าเรือที่เจาะจงเฉพาะการขนส่งสินค้า หมายความว่าเป็นที่ที่นำสินค้าขึ้นลงมากกว่าอย่างอื่น แต่ถ้าหากมีท่าเรือสำหรับเรือสำราญมาตั้งในเมืองพัทยา คิดว่าจะเป็นสิ่งที่ดีมาก ผมคิดว่าคงจะมีผลดีระยะยาวและเป็นผลดีระยะยาวสำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจที่จะมาประเทศไทยและใช้เป็นจุดแวะเปลี่ยนเส้นทางสำหรับการท่องเที่ยวโดยเรือสำราญ และจะมีประโยชน์มากสำหรับแหล่งที่เป็นที่เทียบเรือเพื่อให้ผู้โดยสารขึ้นลงได้ ยกตัวอย่างเช่นเมือง Florida และ Louisiana เป็นตัวอย่างของประเทศสหรัฐฯ ซึ่งเป็นจุดที่เรือสำราญจะจอดเพื่อให้คนลงและไปต่อที่ Caribbean และในอ่าวเมกซิโก หรือไปที่ Mexican Riviera เป็นต้น ซึ่งจะมีผลดีทั้งด้านการเก็บภาษีและข้อดีทางด้านการว่าจ้างและสำหรับเศรษฐกิจโดยรวมต่อพื้นที่ ที่ใช้ในการเปลี่ยนเส้นทางเหล่านั้น
เพราะฉะนั้น ถ้าหากประเทศไทยจะเล็งเห็นผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกันนี้ เนื่องจากการสร้างท่าเรือสำหรับเรือสำราญโดยเฉพาะในระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ซึ่ง EZ คือ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ในขณะที่ EEC คือระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ซึ่งเราเคยกล่าวมาแล้วว่าในระเบียงนี้ จะมีการสร้างข้อได้เปรียบทางด้านธุรกิจบางประเภทในฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ซึ่งผมคิดว่าคงจะมากพอสมควร และผมไม่สามารถจะหาคำอธิบายว่าน่าตื่นเต้นขนาดไหน และผมหวังว่าจะเห็นความก้าวหน้าในสิ่งนี้และจะคอยให้ข้อมูลเพิ่มเติมในช่องรับฟังนี้ต่อไป