Integrity Legal - Law Firm in Bangkok | Bangkok Lawyer | Legal Services Thailand Back to
Integrity Legal

Legal Services & Resources 

Up to date legal information pertaining to Thai, American, & International Law.

Contact us: +66 2-266 3698

[email protected]

ResourcesThailand Real Estate & Property LawJurisprudenceความคิดที่ไม่ดีคง "ขัดเกลา" ไม่ได้

ความคิดที่ไม่ดีคง "ขัดเกลา" ไม่ได้

For the English transcript of this video, please go to the following link: 

https://www.legal.co.th/resources/thailand-real-estate-property-law/jurisprudence/there-no-fine-tuning-bad-idea/

พออ่านหัวข้ออันนี้ อาจจะดูไม่ค่อยชัดเจนนักว่าเรากำลังจะคุยกันเรื่องอะไร แต่โดยสรุปก็เป็นวีดีโออีกเรื่องหนึ่งที่จะคุยถึงเรื่องกระเป๋าตังค์ดิจิตอล หรือ ประเด็นเกี่ยวกับเงินดิจิตอลที่มีการพูดคุยกันในประเทศไทยในเวลานี้ ผมขอพูดตรงๆว่า มันเป็นการควบคุมผู้คนอย่างเห็นได้ชัด เข้าประเด็นเลยก็แล้วกัน ผมเคยพูดถึงเรื่องนี้แล้ว โดยทำเป็นวิดีโอในเวลาใกล้เคียงกัน และดูเหมือนเรื่องนี้จะเคลื่อนตัวไปพร้อมๆกับเรื่องหนังสือเดินทางดิจิทัลในบริบทที่เกี่ยวกับการเดินทางไปต่างประเทศด้วยเช่นกัน ซึ่งถ้าหากคุณไปคุยกับใครเกี่ยวกับเรื่องนี้เมื่อ 3 ปีที่แล้ว คงจะมีหลายคนที่คิดว่าคุณประสาทเสีย ผมเองก็ต้องคิดว่ามันเป็นเรื่องบ้าบอด้วยเหมือนกัน แต่ต่อมาเราก็ได้เห็นถึงเรื่องที่พูดกันไปๆมาๆของสิ่งที่เรียกว่า vaccine passports ซึ่งก็ต้องขอบคุณพระเจ้าที่ว่าไม่มีใครติดตามต่อ โดยเฉพาะในประเทศไทย ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่งี่เง่ามาก แต่มาถึงตอนนี้ปรากฏว่ามีการพูดคุยกันในอินเทอร์เน็ตอย่างมากมาย เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง สิ่งที่ทำให้ผมหงุดหงิดในประเด็นนี้คือ ผมไม่เห็นถึงขบวนการรากหญ้าใดๆที่จะนำไปสู่หนังสือเดินทางแบบดิจิตอลหรือเงินตราแบบดิจิตอลหรือสิ่งต่างๆเหล่านี้เลย สื่อสารมวลชนก็จะให้ข้อมูลแต่เพียงว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์ หรือเป็นเรื่องกลางๆไม่ได้ไม่เสีย นอกจากนี้ก็ยังมีการอ้างว่าเป็นเรื่องที่จะต้องเกิดขึ้นอยู่แล้วเพราะสามารถเห็นได้ชัดในตัวเองโดยไม่ต้องมีหลักฐานหรือคำอธิบายใดๆเพิ่มเติมว่าจะต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงมิได้  เพราะเป็นวิถีความเป็นไปของโลกมนุษย์ ผมขอบอกว่า ผมไม่เชื่อเลยแม้แต่นิดเดียว ไม่มีหลักฐานใดๆที่แสดงให้เห็นได้เลยว่าจะสามารถนำเงินดิจิตอลมาใช้ได้  ผมมองเห็นอุปสรรคข้อบกพร่องมากมายมหาศาล ซึ่งเคยพูดไปแล้ว งั้นผมขอเริ่มวิเคราะห์และอาจจะพูดเรื่องนี้ต่อ ขอยกข้อมูลมาโดยตรงมาจากหนังสือพิมพ์ Bangkok Post, bangkokpost.com, หัวข้อชื่อ: Srettha brushes off digital wallet critics เศรฐาเมินต่อการวิพากย์วิจารณ์เรื่อง กระเปาตังค์ดิจิตอล  ขอยกข้อความมาโดยตรงดังนี้: "นาย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวในวันจันทร์ว่า รัฐบาลจะเดินหน้าต่อเกี่ยวกับการแจกเงินดิจิตอลคนละ 10,000 บาทถึงแม้จะมีการเพิ่มขึ้นของการวิพากย์วิจารณ์ ก็ตาม" - สิ่งแรกเลย คุณกำลังพูดถึงอะไร? คุณบอกว่า "จะมุ่งเดินหน้าต่อ" หมายความว่าอย่างไรครับ? เรื่องที่มีความสำคัญมากขนาดนี้ จะต้องดำเนินการตามกระบวนการตามขั้นตอนทางกฎหมายนะครับ ผมเห็นการพูดแบบนี้มาหลายครั้งแล้ว โดยเฉพาะจากบางกอกโพสต์ ที่นายกฯบอกว่า "ยังไงเราก็จะทำ" หรือ "เราจะเดินหน้าต่อ"! ผมว่า “ไม่” จะดีกว่ามั้ยครับ? หรือไม่ก็ “เรามานั่งปรึกษาหารือกันก่อนดีมั้ย มาดูว่าหนทางที่ถูกต้องจะเป็นอย่างไร แบบที่ทำตามขั้นตอนของกฎหมายน่ะครับ น่าจะดีกว่าการที่คุณจะเพียงกล่าวว่า เราจะเปลี่ยนระบบการเงินทั้งหมด และเราก็จะทำแบบนี้ต่อไป จำนวนการวิพากย์วิจารณ์ทั้งหมดนั้นไม่มีนัยสำคัญแต่อย่างใด" ตามที่เราเคยพูดไว้ในวีดีโอม้วนอื่นซึ่งเป็นการยกข้อความมาจากบางกอกโพสต์เช่นเคยก็คือ มีนักวิชาการมากกว่า 100 คนที่ออกมากล่าวว่าสิ่งนี้เป็นปัญหาอย่างแท้จริงและมีความจำเป็นต้องนำมาคิดทบทวน ที่ผมออกมาพูด ไม่ใช่ออกมาต่อต้าน แต่ต่อต้านแนวคิดนี้บางส่วนน่าจะถูกต้องมากกว่า ในที่สุดแล้วผู้คนต่างก็เป็นกังวลกับเรื่องนี้ และการที่คุณเอาแต่พูดตลอดเวลาว่า "ไม่ว่าจะอย่างไร เราก็จะเดินหน้าต่อ!" มันทำให้รู้สึกหงุดหงิดไม่ใช่น้อยครับ ขอใช้คำนี้เพราะหาคำอื่นไม่ได้ บทความยังกล่าวต่ออีกว่า: นายเศรษฐาได้กล่าวว่า "ผมยืนยันว่านโยบายนี้จะเดินต่อ ตอนนี้กำลังปรับแต่งรายละเอียดบางอย่างเกี่ยวกับแหล่งที่มาของเงินทุนในโครงการนี้ รวมทั้งวิธีการที่จะใช้แจก รายละเอียดคงชัดเจนกว่านี้หลังจากที่ประชุมคณะอนุกรรมการที่ขับเคลื่อนโครงการนี้" อย่างแรกเลยก็คือ จะเดินหน้าต่อแต่ยังไม่รู้เลยว่ารูปแบบจะเป็นอย่างไรอย่างนั้นหรือ? ซึ่งดูแล้วเหมือนตอนที่รัฐสภาสหรัฐฯเคยกล่าวว่า "เราจะต้องอนุมัติร่างกฎหมายฉบับนี้ ก่อนที่เราจะสามารถอ่านมัน" เป็นสิ่งที่ไร้สาระมาก เราต้องแก้ไขปัญหานี้ก่อน มันจะต้องผ่านกระบวนการทางกฎหมาย คุณไม่สามารถที่จะเปลี่ยนระบบการเงินทั้งหมดเพราะแค่คิดอยากทำ บทความกล่าวต่ออีกว่า: "ในเช้าวันจันทร์ที่ผ่านมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นาย จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ได้กล่าวว่ารัฐบาลจะต้องก้าวย่างอย่างระมัดระวังกับโครงการที่วางแผนไว้แล้วนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงข้อโต้แย้งทางกฎหมาย" - ผมสามารถมองเห็นข้อโต้แย้งทางกฎหมายได้มากมายเลยทีเดียว และที่น่าสนใจไปกว่านั้นคือ บทความยังกล่าวไว้อีกด้วยว่า: "นายจุลพันธ์ ยอมรับด้วยว่ารัฐบาลยังไม่สามารถหาวิธีที่จะได้มาซึ่งเงินทุนสำหรับโครงการนี้" – แปลว่าเราจะเดินหน้าโครงการนี้ต่อไป ทั้งๆที่เรายังไม่มีเงินที่จะมารองรับเลยหรือ? ก็ได้!!!

นอกจากนี้ ผมขอพูดตรงๆว่า ยิ่งอ่านข้อมูลเรื่องโครงการนี้มากเท่าไหร่ มันก็ยิ่งดูแย่ลงมากขึ้นเท่านั้น เอาล่ะ ครั้งแรกที่เราได้ยิน มันก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับดิจิตอล คือเรากำลังจะส่งเงินไปที่มือถือของผู้คนต่างๆและเขาก็จะนำไปใช้จ่าย ต่อจากนั้นรัฐบาลก็บอกว่า “คุณสามารถใช้ได้เพียงในรัศมี 4 กิโลเมตรเท่านั้นนะ" ต่อมาเราก็ได้เห็นจากที่ผมได้อ่านในอีกบทความที่ไม่ได้อ้างถึงในวีดีโอนี้ เขาบอกว่ามันมีอยู่ระบบหนึ่งที่ได้นำมาใช้ช่วงโควิดและผมเองก็จำได้ว่ามันมี มันเป็นระบบที่มีอยู่แล้วโดยมีข้อมูลของประชาชน 40 ล้านคนอยู่ในระบบนี้ แต่รัฐบาลดูเหมือนจะไม่ต้องการใช้มัน แต่ต้องการสร้างระบบของตัวเองขึ้นมาใหม่ ผมก็ไม่รู้ว่าเพราะอะไร นอกจากนี้ ในสื่อสิ่งพิมพ์หัวหนึ่งแม้จะไม่ได้พูดอย่างตรงๆว่าเป็นวิธีที่ถูกกว่า แต่ผมก็เห็นว่ามีการเปรียบเปรยทำนองว่า "ถ้าหากทำผ่านระบบดิจิตอล จะถูกกว่า" ตัวเลขที่มีการพูดถึงอยู่ตลอดคือ 560,000 ล้าน ซึ่งตอนแรกๆที่นายกฯพูดถึงเรื่องนี้ (หมายถึงเงินบาทนะครับ) สิ่งที่ผมอ่านเจอก็คือ เงินจำนวนนี้เป็นเงินที่จะต้องจ่ายเพื่อทำโครงสร้างพื้นฐานขึ้นมาก่อน ไม่ใช่จำนวนเงินที่จะแจกจ่าย ซึ่งถ้าหากย้อนกลับไปดูตั้งแต่สมัยที่เพิ่มเพดานหนี้ จาก 60 เป็น 70% ของอัตราส่วนของหนี้สาธารณะต่อ GDP การขยายเพดานหนี้ดังกล่าวจะทำให้มียอดเงินอยู่ 1.5 ล้านล้านบาท ซึ่งเขาจะดึงเอาเงิน 560,000 ลบ. ออกมาจากก้อนนั้น แล้วจึงจะเอาส่วนที่เหลืออีก 700,000 ล้านบาทโดยประมาณไปแจกให้ประชาชน เพราะมีประชากรประมาณ 71 ล้านคนในประเทศไทย และถ้าทุกคนได้ 10,000 บาทก็จะตกเป็นยอดประมาณนั้น แต่หลังจากนั้นมีการเปลี่ยนแปลง ตัวเลขทั้งหลายก็เริ่มที่จะยุ่งเหยิงสับสน มันดูมืดมนไปหมดว่าจริงๆแล้วจะจ่ายเท่าไหร่กันแน่  ต่อมารัฐบาลออกมาบอกว่า "จะแจกเฉพาะคนจน" ซึ่งในความเป็นจริงคือ รัฐบาลกำลังทำให้คนทั้งชาติเป็นหนี้ตะหาก เพราะฉะนั้นสำหรับผมแล้ว มันดูไม่สมเหตุสมผลเอาเสียเลย ขอพูดอีกครั้งว่า ยิ่งอ่านก็ยิ่งไม่ชอบแนวคิดนี้มากขึ้นทุกที

พอกล่าวมาถึงจุดนี้ ก็ขอหยิบยกข้อความจากบางกอกโพสต์มาอีกครั้ง ในหัวข้อที่ชื่อว่า: Govt's cash bonus to be paid through 'super app' (เงินที่แจกโดยรัฐบาลจะจ่ายผ่าน 'super app') ซึ่งในบทความนี้ก็จะอธิบายถึงประเด็นต่างๆของ application ซึ่งน่าขนลุกอยู่พอสมควร แต่ผมอ่านบทความนี้ ผมว่ามันชัดเจนมาก ขอยกข้อมูลมาโดยตรงดังนี้: "ผู้ประกอบการที่ไม่ได้อยู่ในระบบภาษี จะไม่สามารถนำเงินในกระเป๋าตังค์ดิจิตอลมาเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ แต่สามารถที่จะนำไปใช้จ่ายกับผู้ค้ารายอื่นที่อยู่ในระบบภาษีได้" เพราะฉะนั้น สิ่งนี้ไม่ถือว่าเป็นเงินตรา ไม่ถือว่าเป็นเงินตราในความหมายของคำว่า “เงินตรา” ที่เรารู้จักกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ทันทีที่คุณเข้าไปในระบบนี้ มันก็ไม่มีอะไรที่มีความหมายใดๆออกมาเลย เพราะเขาบอกอยู่แล้วว่า มันไม่ใช่เงินสด และไม่สามารถที่จะเปลี่ยนกลับไปเป็นเงินสดได้ แล้วมันคืออะไร?

ผมเคยกล่าวมาแล้วและผมไม่ชอบที่จะใช้ภาษาแบบนี้ แต่ครั้งสุดท้ายที่เราเห็นอะไรที่คล้ายๆกับสิ่งนี้ก็คือในสมัยของสหภาพโซเวียต อย่างน้อยที่สุดก็ในบริบทของประเทศทางตะวันตกและสหภาพโซเวียต และ รัสเซียก็เป็นอย่างนี้มาตลอด รัสเซียเป็นประเทศทางตะวันตกหรือทางตะวันออก รัสเซียเป็นได้ทั้งสองอย่าง แต่อยู่ในสหภาพโซเวียต ประเทศรัสเซียมีวัฒนธรรมแบบตะวันตก เพราะฉะนั้น นั้นคือครั้งสุดท้ายที่เราเห็นวิธีการแบบนี้ในแถบยุโรป นอกจากนี้ ได้มีการที่มีผู้คนเปรียบเทียบสิ่งนี้กับระบบของจีนคือ social credit หรือระบบเครดิตทางสังคม เราต้องการสิ่งนั้นหรือ? เราทุกคนจะถูกสืบหาร่องรอยและติดตาม ทุกการทำธุรกรรมจะถูกสืบหาร่องรอยและติดตาม และเหนือสิ่งอื่นใด เขาจะควบคุมเงินของเราด้วย อย่างที่รัฐบาลพูดมาก่อนหน้านี้ที่เราอ้างอิงไปแล้วคือ เขาพูดว่า "สามารถนำไปใช้ได้ภายในรัศมี 4 กิโลเมตรเท่านั้น!" และ "อ๋อ ไม่ใช่ ไม่ใช่ เราอาจจะขยายออกไปในระดับตำบลหรืออาจจะขยายในวงกว้างไปถึงระดับของจังหวัดก็ได้" ซึ่งแบบนี้หมายความว่ารัฐบาลสามารถผลักมันกลับไปเหลือ 4 กิโลเมตรหรือน้อยกว่าก็ได้ รัฐบาลสามารถทำให้เงินนี้ไม่สามารถนำไปใช้ได้ในเขตอื่นถ้าหากรัฐบาลต้องการที่จะทำอย่างนั้น และนี่คือการกระทำที่ประเทศไทยยืนหยัดต่อต้านมาตลอด ศตวรรษที่ 20 และผมเชื่อว่าตอนนี้ก็ยังยืนหยัดที่จะต่อต้าน นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ผมย้ายมาอยู่ที่นี่ เป็นเหตุผลหนึ่งที่ผมมาดำเนินชีวิตอยู่ที่นี่ เพราะแนวคิดต่างๆเหล่านี้เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับการเป็นคนไทย เพราะความหมายของการเป็นคนไทยคือ ความมีอิสระ ความคิดที่ว่า: "ผู้ประกอบการที่ไม่ได้อยู่ในระบบเสียภาษี ไม่สามารถที่จะนำเงินในกระเป๋าตังค์ดิจิตอลมาเปลี่ยนเป็นเงินสดได้" นี่คือสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความมีอิสระ และอีกอย่างหนึ่งคือการที่กล่าวว่าระบบดิจิตอลจะมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า ในใจของผม ผมไม่เชื่อจริงๆว่าการที่จะนำเงินดิจิตอลราคา 560,000 ล้านบาทมาใช้ จะถูกกว่าการพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้ ผมอยากรู้ว่าถ้าจะพิมพ์ธนบัตรจำนวนนี้ออกมาจะเสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ – ซึ่งการทำแบบนั้นก็มีปัญหาในตัวมันเองอีกเช่นกัน เพราะจะทำให้เกิดการกระเพื่อมของเงินตรา เกิดเงินเฟ้อในทุกรูปแบบ การวิเคราะห์แบบเดียวกันนี้ ผมได้ทำมาแล้วในตอนวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจของเรื่องนี้ ซึ่งจะขอพูดผ่านๆว่า การพิมพ์ธนบัตรเพิ่มจะทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อและปัญหาต่างๆตามมา แต่ถ้าคิดเฉพาะการพิมพ์เงินอย่างเดียว คือพิมพ์ธนบัตรออกมา ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์จะเป็นเท่าไหร่? ผมว่าตัวเลขคงจะหาได้และผมแน่ใจว่ามันจะน้อยกว่า 560,000 ล้านบาทอยู่มากทีเดียว และในขณะเดียวกัน ถ้าหากคุณพิมพ์เงินออกมา คุณก็จะมีปัญหาเรื่องเงินเฟ้อและเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้อง แต่อย่างน้อยคุณก็จะไม่มีรัฐบาลที่คอยติดตามตรวจสอบอย่างละเอียดยิบ หรือคอยเฝ้าดูธุรกรรมทางการเงินของทุกคนที่ดำเนินการภายในประเทศนี้ ดังนั้น ผลประโยชน์หลักๆของโครงการนี้อยู่ตรงไหน ผมมองไม่เห็นเลยจริงๆ