Integrity Legal - Law Firm in Bangkok | Bangkok Lawyer | Legal Services Thailand Back to
Integrity Legal

Legal Services & Resources 

Up to date legal information pertaining to Thai, American, & International Law.

Contact us: +66 2-266 3698

[email protected]

ResourcesThailand Real Estate & Property LawJurisprudenceข้อมูลใหม่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการถ่ายวิดีโอบุคคลอื่นในประเทศไทย

ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการถ่ายวิดีโอบุคคลอื่นในประเทศไทย

For the English transcript of this video please go to the following link: 

https://www.legal.co.th/resources/thailand-criminal-law/criminal-jurisprudence-thailand/update-laws-against-filming-people-thailand/

วีดีโอเรื่องนี้จะกล่าวถึงข้อมูลใหม่เกี่ยวกับกฎหมายของประเทศไทยว่าด้วยการถ่ายวิดีโอบุคคลอื่น ซึ่งผมเคยทำวีดีโอในประเด็นนี้มาบ้างแล้ว คงสัก 2 ม้วนและได้อ้างอิงกฎหมายที่เกี่ยวข้องในประเด็นนี้คือ การถ่ายวิดีโอบุคคลทั่วไปโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งในประเทศไทยถือว่าผิดกฎหมาย และในบางกรณีอาจจะมีผลทางคดีอาญาตามมาด้วย ประเด็นหลักที่ต้องทำความเข้าใจคือ ในวีดีโอเรื่องนี้เราจะไม่พูดถึงประเด็นนี้ เพราะพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีบทบัญญัติบางข้อที่เกี่ยวกับการถ่ายวิดีโอบุคคลอื่นรวมทั้งผลที่จะเกิดขึ้นตามมา แต่ต้องเข้าใจด้วยว่ายังมีกฎหมายฉบับอื่นๆอีกด้วยไม่ใช่มีเพียงแต่กฎหมายที่กล่าวแล้วนี้เท่านั้น ซึ่งผมเคยพูดไว้แล้วในวีดีโอก่อนหน้านี้.

เหตุผลที่ผมทำวีดีโอเรื่องนี้เพราะผมได้อ่านข้อความที่น่าสนใจในหนังสือพิมพ์ Pattaya Mail จาก pattayamail.com, ในหัวข้อว่า: นักท่องเที่ยวรู้สึกสับสนกับกฎหมายของไทยที่ว่าด้วยการใช้โทรศัพท์มือถือและการใช้กัญชา ผมขอแนะนำให้ผู้ที่กำลังรับชมวีดีโอเรื่องนี้ให้ไปอ่านบทความนั้นเพราะมีรายละเอียดลึกๆที่น่าสนใจ ซึ่งผมจะขอยกข้อความมาโดยตรงดังนี้: "ยังมีความสับสนอยู่มากในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่เริ่มบังคับใช้ในต้นเดือนนี้ วัตถุประสงค์หลักของกฎหมายฉบับนี้คือ เพื่อเป็นการป้องกันบุคคลทั่วไปจากการถูกกลุ่มมิจฉาชีพ นำข้อมูลส่วนตัวไปใช้ประโยชน์อย่างไม่ถูกต้องในเชิงพาณิชย์ แต่กฏหมายฉบับนี้ยังมีช่องโหว่ และความคลุมเครืออยู่อีกมากมาย" (ตอนนี้ผมพูดเอง - ถือเป็นเรื่องปกติถ้าหากมีการร่างกฎหมายใหม่) ข้อความที่ขอยกมาต่อไปคือ: "โฆษกประจำกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้เตือนผู้คนทั้งไทยและต่างชาติไม่ให้ถ่ายภาพหรือบันทึกคลิปบุคคลอื่นแล้วนำไปลงในโซเชียลมีเดีย เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วคือ มีหญิงไทยวัยกลางคนที่กำลังฟ้องร้องสื่อ (ไม่ใช่สื่อที่กำลังอ้างอิงนี้) ที่ได้ตีพิมพ์ภาพของเธอในชุดเต้น อโกโก้ซึ่งวาบหวิวมาก เธออ้างว่าภาพนี้ทำให้เธอรู้สึกอับอายและเสียชื่อเสียง ความกังวลเกี่ยวกับความหมายตามตัวอักษรของกฎหมายฉบับนี้ยังกระจายไปถึงโรงพยาบาลด้วย ซึ่งผู้ป่วยบางคนถูกขอให้ลงนามในเอกสารเพื่ออนุญาตให้โรงพยาบาล สามารถเก็บข้อมูลส่วนตัวของคนไข้ไว้ใช้ในเชิงวิชาการและการตลาด ด้วยความเคารพต่อข้อมูลส่วนตัว ในกรณีที่เป็นคดีอาญา ตำรวจจะใช้ดุลยพินิจว่าควรจะส่งไปที่สำนักอัยการหรือไม่ ซึ่งคดีแพ่งจะใช้เวลาหลายปีในการตัดสินความ ตามระบบราชการที่เชื่องช้าจนฉาวโฉ่ ถ้าหากจะยืมคำพูดของ Betty Davis มากล่าวในทางที่ไม่ตรงเท่าไหร่ คือ "คอยจับหมวกไว้ การเดินทางอาจจะขรุขระ" แล้วตอนนี้เป็นยังไง ก็คงเช่นเดียวกับทุกอย่างนั่นแหละที่ต้องใช้เวลาสักระยะเพื่อเขย่าให้ทุกอย่างเข้าที่เข้าทาง แล้วดูว่ากฎหมายที่ประกาศใช้แล้วนี้ จะนำมาใช้ในชีวิตจริงได้อย่างไรบ้าง

สิ่งที่ต้องคอยระมัดระวังเกี่ยวกับประเด็นที่กล่าวมานี้ซึ่งเราเคยกล่าวแล้ว คือยังมีกฎหมายฉบับอื่นอีกที่สามารถจะเล่นงานใครก็ตามที่ไปถ่ายคลิปบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเราเคยกล่าวมาแล้วในวีดีโอก่อนหน้านี้ แต่สำหรับกฎหมายฉบับใหม่นี้จะเฉพาะเจาะจงไปยังกรณีของผู้ที่ถ่ายคลิปคนอื่นและนำไปออกสื่อ ซึ่งผู้ที่ทำเช่นนั้น จะต้องระมัดระวังอย่างมาก รวมทั้งชาวต่างชาติที่เล่น YouTube และอย่างอื่น เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กๆที่จะมองข้ามไป กฎหมายฉบับนี้ได้ผ่านการพิจารณาอย่างเป็นเหตุเป็นผล ไม่ใช่ให้ความเห็นชอบเพียงเพราะต้องการให้มันเสร็จๆไปเท่านั้น แม้ว่าบางครั้งอยากจะทำให้มันปาฏิหารย์ก็ตาม แต่ก็เห็นได้ชัดเจนว่า มีเจตจำนงของนโยบายอยู่เบื้องหลังของการออกกฎหมายฉบับนี้ และผมเชื่อว่ามันมาจากผลพวงจากวิวัฒนาการของยุคสมัย เราอยู่ในยุคที่คนจำนวนมากที่เดินอยู่รอบๆตัวเรามีเครื่องมือส่วนตัวที่จะสามารถบันทึกภาพใครก็ได้ในทันทีและนำเข้าสู่ระบบออนไลน์ได้ทันทีเหมือนกัน ซึ่งจะมีผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมาจากการกระทำเช่นนั้น เหตุการณ์แบบนี้สามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ และคนทั่วไปในประเทศไทยก็อาจจะไม่ชอบการกระทำแบบนี้ และด้วยเหตุนี้จึงมีกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมา เพราะฉะนั้น คุณจะต้องตระหนักรู้อย่างยิ่งถึงเรื่องนี้ ในขณะที่คุณกำลังบันทึกวิดีโอใครอยู่ก็ตาม 

อย่างหนึ่งที่ผมไม่ชอบคือ เมื่อไปในที่ต่างๆซึ่งเป็นสถานที่สาธารณะในประเทศไทย หลายแห่งที่ผมเห็นมีบางคนถ่ายคลิปหรือคุยวีดีโอคอลกับใครสักคนและคอยแพนกล้องไปมารอบๆ ซึ่งผมเองก็ไม่ต้องการให้มีใครมาถ่ายรูปผม อันนี้ผมพูดเป็นการส่วนตัว และผมก็รู้จักคนไทยอีกหลายคนที่ไม่ต้องการถูกถ่ายรูปโดยใครก็ไม่รู้และนำวีดีโอไปส่งให้คนอื่นที่เขาไม่รู้จัก สำหรับผมแล้วมันเป็นเรื่องที่น่าขนลุกอยู่เหมือนกัน และมีคนไทยหลายคนที่ผมคุยด้วย ก็เห็นด้วยกับผม เพราะฉะนั้น สิ่งที่ต้องระลึกไว้เสมอถ้าหากคุณเป็นนักท่องเที่ยวในประเทศไทยก็คือ มันไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไรในการถ่ายภาพ และคงไม่มีใครว่าอะไร ถ้าบังเอิญเขาเข้ามาอยู่ในเฟรมขณะที่คุณกำลังถ่ายรูปตัวเองอยู่ที่ชายหาด นั่นไม่ใช่ประเด็นที่คนทั่วไปจะต้องกังวล ผมคิดว่า หลายคนที่มีประเด็นในประเทศไทยก็คือ ตั้งแต่มีการใช้สมาร์ทโฟน มีหลายคนมาที่ประเทศไทยแล้วก็เริ่มถ่ายคลิปผู้คนโดยที่ไม่ได้รับอนุญาตก่อน หรือไม่มีการยินยอมใดๆจากคนเหล่านั้นซึ่งเขาอาจจะไม่ต้องการถูกถ่ายรูปก็ได้ ผมคิดว่ากฎหมายนี้คงจะมีไว้เพื่อป้องกันการถ่ายรูปหรือถ่ายคลิปผู้อื่นที่เขาไม่ต้องการให้ถ่ายมากกว่า