Integrity Legal - Law Firm in Bangkok | Bangkok Lawyer | Legal Services Thailand Back to
Integrity Legal

Legal Services & Resources 

Up to date legal information pertaining to Thai, American, & International Law.

Contact us: +66 2-266 3698

[email protected]

ResourcesThailand Real Estate & Property LawJurisprudenceเพราะเหตุใดนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยจึงเข้าร่วมประชุมสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum:WEF)

เพราะเหตุใดนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยจึงเข้าร่วมประชุมสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum:WEF)

For the English transcript of this video, please go to the following link:

https://www.legal.co.th/resources/thailand-real-estate-property-law/jurisprudence/why-thai-pm-meeting-world-economic-forum/

วีดีโอเรื่องนี้จะตั้งคำถามว่าเพราะเหตุใดนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยจึงไปร่วมการประชุมของ WEF, หรือ World Economic Forum?

ถ้าหากใครยังไม่ทราบ, World Economic Forum คือ, ที่จริงผมเองก็ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าอะไรดี แต่ก็คิดว่าอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นเวทีในการถกแถลงสำหรับระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ เพราะโดยตัวของมันเองแล้ว ดูเหมือนจะไม่มีอุดมการณ์อะไร มันเป็นเพียงแต่การรวบอำนาจแบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งพวกนี้ (WEF) ก็รวมอยู่ด้วย มันเหมือนกับเป็นแก่นแกนที่พวกนี้ใช้ ผมเองได้ติดตามกลุ่มนี้มานานพอสมควร เรื่องนี้ไม่ใช่ประเด็นที่ผมอยากจะพูดไว้ในช่องรับฟังนี้ แต่พอมาถึงจุดที่นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยได้เข้าไปร่วมประชุมในเวทีนี้ด้วย ผมจึงคิดว่าน่าจะต้องหยิบยกขึ้นมาพูดถึงสักหน่อย มาดูว่าจริงๆแล้ว บุคคลเหล่านี้เขาทำอะไรกัน?

ตอนแรกผมคิดจะทำวีดีโอเรื่องนี้หลังจากที่เมื่อไม่นานมานี้ได้อ่านบทความจาก Bangkok Post, bangkokpost.com, หัวข้อว่า: PM In Davos for WEF นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมประชุม WEF ที่เมือง Davos ขอยกข้อความโดยตรงจากบทความดังนี้: “นายเศรษฐา จะนำคณะตัวแทนของคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ไปเข้าร่วมประชุมตามคำเชิญของ WEF การเดินทางครั้งนี้จะเป็นการเดินทางไปยุโรปครั้งแรกของนายเศรษฐา หลังจากที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี" ผมว่าสิ่งนี้น่าสนใจ มันเป็นการเดินทางไปยุโรปครั้งแรกและไปเพื่อที่จะไปร่วมประชุมกับ World Economic Forum เสียด้วยสิ กล่าวต่อ: "และยังเป็นครั้งแรกในระยะเวลา 12 ปีที่มีผู้นำของรัฐบาลไทยไปร่วมในการประชุมประจำปีขององค์กรนี้" ผมคิดว่าผู้ที่ได้ติดตามชมวีดีโอในช่องรับฟังนี้จะทราบดีว่าผมได้เคยวิพากย์วิจารณ์ในบางแง่บางมุมของรัฐบาลชุดที่แล้ว จริงๆแล้วก็หลายแง่มุมอยู่เหมือนกัน  ถ้าผมพูดว่า ผมกำลังรำลึกถึงรัฐบาลชุดที่แล้วก็คือตอนที่ผมได้อ่านข้อความนั้น และผมอยากอ่านมันซ้ำอีกครั้งว่า “และยังเป็นครั้งแรกในระยะเวลา 12 ปีที่มีผู้นำของรัฐบาลไทยได้ไปร่วมในการประชุมประจำปีขององค์กรนี้" และผมคิดว่า มันเป็น 12 ปีที่ดี เพราะถ้าหากว่าเราเจาะลึกลงไปในกลุ่มคนนี้และดูสิ่งที่พวกเขาทำอยู่ ผมไม่ทราบเลยว่าเพราะเหตุใดสมาชิกของรัฐบาลไทยถึงควรจะไปที่นั่นและเจรจากับคนกลุ่มนี้ กล่าวต่อ: "การประชุมประจำปีนี้มีผู้ร่วมประชุม 2,500 คนจากทั่วโลก ประกอบไปด้วยผู้นำประเทศ ผู้นำรัฐบาลและตัวแทนขององค์กรนานาชาติ, CEO, นักวิชาการ และบุคคลสาธารณะที่ทรงอิทธิพล" มีอยู่สองประเด็นที่อยากพูดคือ มีใครได้ลงคะแนนเสียงเพื่อให้ส่งคนเหล่านี้ไปที่นี่หรือเปล่า และในขณะเดียวกัน ทำไมผู้นำของรัฐบาลซึ่งเป็นคนที่เราเลือกมา และเป็นคนที่ควรจะต้องทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของชาติ ต้องไปร่วมการประชุมนี้? ครับ บางอย่างที่เขาคุยกันก็จะถูกเผยแพร่ในระบบออนไลน์ คือบันทึกไว้ แล้วเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต แต่ส่วนใหญ่แล้ว สิ่งที่พูดคุยในการประชุมจะถูกเก็บซ่อนไว้เป็นความลับ ภายใต้กฎที่เรียกว่า Chatham House Rules ซึ่งหมายความว่า "เราจะไม่พูดถึงประเด็นต่างๆที่เรากล่าวในที่ประชุม" ผมอยากทราบว่าทำไมเราถึงส่งเจ้าหน้าที่ทางการไทยที่มาจากการเลือกตั้ง ไปร่วมประชุมในที่ซึ่งเราไม่มีทางรู้เลยว่าเขาคุยอะไรกัน? 

เรามาคุยต่อว่า WEF คืออะไรกันแน่? ผมก็เลยไปเข้าที่ weforum.org, ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของเขา และนี่เป็นเพียงหัวข้อหนึ่งในเอกสารข้อมูลรายละเอียดทางเทคนิคขององค์กรที่เขาโพสท์ไว้  หัวข้อว่า: "How to harness the transformative potential of public-private partnerships” วิธีการควบคุมและใช้ประโยชน์จากศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ผมจะไม่ยกบทความมากล่าว แต่ขอแนะนำให้ไปอ่านเอง ซึ่งผมจะเอาชื่อขึ้นบนจอให้ดู แต่ที่จะถามคือ ใครนะที่เคยพูดไว้ว่าการควบรวมอำนาจของภาคเอกชนและอำนาจรัฐเข้าด้วยกัน หรืออำนาจที่เป็นสาธารณะกับเอกชน เข้าด้วยกัน เป็นคำจำกัดความของลัทธิ ฟาสซิสต์? คนที่พูดคือมุโสลินี ใช่หรือเปล่า? แล้วผมก็จะไม่พูดถึงอุดมการณ์ของคนเหล่านี้เพราะดูเหมือนจะไม่มีเลย แต่สิ่งที่พวกเขาดูเหมือนจะร่วมอยู่ด้วยก็คือ ลัทธิอำนาจนิยม หรือจะเกินกว่านั้นก็ได้ เพราะการปกครองแบบอำนาจนิยมก็ยังมีการขึ้นๆลงๆได้บ้าง มันอาจจะมีระบอบที่แข็งกร้าวที่เห็นว่าจำเป็นต้องควบคุมทุกอย่างไว้ในมือ แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นการรวบอำนาจแบบเบ็ดเสร็จ ในความคิดของผม WEF ดูเหมือนจะเป็นการรวบอำนาจแบบเบ็ดเสร็จ ผมขอเอาสิ่งนี้ขึ้นจอ ซึ่งเป็นการ tweet ในทวิตเตอร์ของ WEF เมื่อหลายปีมาแล้วหรือซักระยะหนึ่งแล้ว ผมขอนำคำกล่าวของชายผู้มีหน้าตายิ้มแย้มนี้ขึ้นจอให้อ่าน "คุณจะไม่เป็นเจ้าของอะไรเลย และคุณจะมีความสุข" ผมไม่รู้ว่าคุณจะคิดยังไงนะ แต่ถ้าผมไม่ได้เป็นเจ้าของอาหารของผม บ้านของผม และวิธีการทำมาหากินของผม ผมคิดว่าผมคงจะไม่มีความสุขแน่นอน ในด้านหนึ่ง พวกเขากำลังพูดถึงเรื่องการร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน, หรืออำนาจรัฐและอำนาจขององค์กร ซึ่งฟังดูเหมือนจะเป็นฟาสซิสต์ แต่พอในอีกด้านหนึ่ง เขาพูดว่า"คุณจะไม่เป็นเจ้าของอะไรเลย และคุณจะมีความสุข" ซึ่งใครนะที่เคยพูดไว้แบบนี้? ทั้งเลนิน และสตาลินและ Marx ซึ่งสำหรับผมแล้ว ดูเหมือนจะเป็นคอมมิวนิสต์มากทีเดียว ผมจะเอาคลิปนี้ขึ้นจอให้ฟังซึ่งผู้กล่าวคนนี้คือ Klaus Schwab, ซึ่งเป็นผู้นำของกลุ่มคนที่มีภูมิหลังหลากหลายนี้ก็ว่าได้  

ข้อความที่ขอยกมาคือ: "คุณมีการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านระบบ และสิ่งที่เราเห็นคือการปฏิวัติต่อต้านการมีระบบ เพราะฉะนั้น การแก้ไขซ่อมแซมระบบที่มีอยู่ตอนนี้มันคงไม่เพียงพอเสียแล้ว ขณะนี้ได้มีการต่อต้านระบบเกิดขึ้นแล้ว ซึ่งเราเรียกว่า “ลัทธิเสรีนิยม” ซึ่งหมายถึง การรื้อทุกอย่างที่จะสร้างอิทธิพลของรัฐบาลต่อชีวิตส่วนตัว เรียกได้ว่านี่คือการรื้อถอนปลดเปลื้องระบบ"

แล้วอีกสิ่งหนึ่งที่น่าสังเกตคือ เขาจะนั่งอยู่ตรงนั้นแล้วพูดว่า "มีการเคลื่อนไหวที่ต่อต้านการมีระบบ" "ต่อต้านการมีระบบ" เขาจะใช้คำนี้บ่อยครั้งขึ้น แล้วจะพูดถึงลัทธิเสรีนิยมและการต่อต้านการมีระบบ อย่างแรกเลยก็คือ ผมไม่ชอบคำว่า “ลัทธิเสรีนิยม” ผมเคยเห็นในส่วนของการแสดงความคิดเห็นว่า มีหลายคนที่เรียกผมว่าเป็นพวกเสรีนิยม แต่ผมไม่คิดว่าตัวผมเองอยู่ในกลุ่มนั้น ขอพูดให้ชัดก่อนว่า ในระดับพื้นฐานของมันแล้ว พรรคเสรีนิยม (Libertarian Party) ก็จะมีความวุ่นวายของมันเอง มันเหมือนกับพวกแมวที่ควบคุมให้อยู่เป็นฝูงไม่ได้ ซึ่งผมได้เฝ้าติดตามมานานหลายปีในบริบทการเมืองของสหรัฐฯ และก็ไม่มีอะไรที่น่าสนใจเลยในพรรคนั้น แต่สังเกตได้ว่าอักษร L ตัวเล็กในคำว่า libertarian นั้นหมายถึงคนที่เชื่อในเรื่องของเสรีภาพ - ซึ่งผมก็ไม่เข้าใจว่ามันเป็นปัญหาได้อย่างไร เพราะฉะนั้น เมื่อผมเห็นคำว่า "ต่อต้านระบบ" ผมเข้าใจเลยว่า เขาต้องการที่จะสร้าง "อิทธิพลของรัฐบาลต่อชีวิตส่วนตัว" ซึ่งนั่นคือเป้าหมายหลักของเขา เข้าใจตรงกันนะ? เพราะฉะนั้น ผมไม่คิดว่าเป็นการพูดเกินความจริงที่จะกล่าวว่า WEF คือพวกรวบอำนาจแบบเบ็ดเสร็จ ผมคิดว่าไม่สามารถที่จะกล่าวได้ว่าเขามีอุดมการณ์ที่ชัดเจน แต่ดูเหมือนว่าสิ่งที่เขาต้องการคือการเข้าควบคุมอย่างสิ้นเชิง ซึ่งนั่นดูเหมือนจะเป็นอุดมการณ์ของพวกเขา เพราะฉะนั้นคำถามของผมคือ ทำไมผู้นำของไทยที่เพิ่งผ่านการเลือกตั้งมาไม่นาน ต้องไปร่วมประชุมที่ Forum นี้? และ ประเทศไทยจะได้รับผลประโยชน์อะไรจากกิจกรรมนี้? นอกจากนี้ เหตุที่ผมต้องลงลึกในเรื่องนี้ก็เพราะผมมีศรัทธาแรงกล้าในการโอนสัญชาติมาเป็นคนไทย ผมรักประเทศนี้จริงๆ ผมรักประวัติศาสตร์ของประเทศนี้ ประเทศไทยได้ต่อต้านการถูกล่าเป็นอาณานิคม โดยใช้วิธีการมากมายที่แตกต่างกันไป มีทั้งการใช้ปฏิบัติการทางทหาร และใช้วิธีทางการทูตที่มีประสิทธิภาพ แต่ประเทศไทยก็สามารถสกัดกั้นเอาไว้ได้ ไม่ได้กลายเป็นอาณานิคม ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยยังสามารถอยู่ห่างไกลจากด้านที่เลวร้ายที่สุดของสงครามที่ได้ทำลายล้างโลกใบนี้ และกลายเป็นป้อมปราการในการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ด้วย สามารถที่จะต่อต้านกับอุดมการณ์ที่ทำให้คนตายประมาณ 120 ล้านคนทั่วโลก-เท่าที่รู้ ถ้าคุณสงสัยว่าลัทธิคอมมิวนิสต์เลวร้ายขนาดไหน ผมขอแนะนำให้คุณอ่านหนังสือชื่อ Gulag Archipelago เขียนโดย Alexander Solzhenitsyn ซึ่งผู้เขียนจะเล่าว่ามันสยดสยองขนาดไหน และเขาต้องเสียใจมากแค่ไหนในการที่ต้องสูญเสียเสรีภาพทั้งหมด ความเป็นเสรีนิยม (libertarian สะกดด้วย L ตัวเล็กครับ) ไม่ต้องสนใจที่จะพูดถึงเสรีภาพในบริบทของการเมือง – แต่ใช่ ผมเชื่อมั่นจริงๆในเรื่องของเสรีภาพ และลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นอุดมการณ์ที่ต่อต้านสิ่งนั้น ประเทศไทยได้ยืนหยัดต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ผมไม่คิดว่าจะนำผลแอปเปิ้ลมาเปรียบเทียบกับลูกโบว์ลิ่งได้เลย ส่วน WEF มันดูเหมือนกับองค์การคอมมิวนิสต์สากลมากทีเดียว คอมมิวนิสต์สากลในยุคเก่า แล้วในเวลาเดียวกันก็จะมีการเชิดชูสิ่งที่เหมือนกับอุดมการณ์ของลัทธิฟาสซิสต์ดั้งเดิม ซึ่งถ้าหากเจาะลึกลงไปมันก็คือระบบรวบอำนาจแบบเบ็ดเสร็จ แต่ประเทศไทยไม่ใช่รัฐเผด็จการ และเหตุผลหนึ่งที่ผมรักประเทศนี้ก็เพราะ คนไทยมีเสรีภาพที่จะใช้ชีวิตและทำในสิ่งที่ต้องการทำ ผมไม่ได้สนใจใน "อิทธิพลของรัฐบาลที่จะเข้ามาในชีวิตส่วนตัวของคนไทย" ผมพูดโดยสรุปนะครับ ผมอยากถามอีกครั้งหนึ่งว่า ทำไมจึงมีตัวแทนของรัฐบาลเราสองคน คือรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศและนายกรัฐมนตรี ไปร่วมการประชุมครั้งนี้ แล้วผมก็อยากถามว่าเขาเหล่านี้ได้ทำอะไรให้ใครบ้าง? ลองยกตัวอย่างสิ่งที่เป็นประโยชน์ที่เห็นได้จากกลุ่ม WEF หน่อยสิ แต่ในทางตรงข้าม ในช่วงเกิดโรคระบาด กลุ่มนี้พยายามผลักดันวิธีการตอบโต้ที่โหดมาก แล้วพอมาถึงตอนนี้ เราก็รู้ว่าทั้งหมดนั่นเป็นเรื่องไร้สาระ ซึ่งถึงที่สุดแล้ว มันเป็นการตัดทอนสิทธิเสรีภาพส่วนตัวของเราทุกคน ทำไปเพื่ออะไร? ไม่เห็นจะได้รับหลักชัยที่ยิ่งใหญ่อะไรเลย

ดังนั้น ผมสงสัยว่ามีความคิดอะไรอยู่เบื้องหลังการไปร่วมประชุมครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเมื่อรัฐบาลชุดที่ถูกวิพากย์วิจารณ์อย่างหนักติดต่อกันมาหลายปี ด้วยเหตุผลที่สมควรวิจารณ์ ยังไม่สนใจที่จะไปร่วมประชุม Forum นี้เลย แต่ทำไมรัฐบาลชุดนี้จึงอยากไป?