Legal Services & Resources
Up to date legal information pertaining to Thai, American, & International Law.
Contact us: +66 2-266 3698
การอภิปรายโดยธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการใช้เงินสกุลหยวน-บาทในการชำระหนี้ทางการค้า?
For the English transcript of this video please go to the following link:
วีดีโอเรื่องนี้อาจจะไม่อยู่ในขอบเขตของช่องรับฟังนี้แต่ดูจากหัวข้อแล้ว ประเด็นเรื่องการชำระหนี้ในการค้าขาย เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ผมคิดจะทำวีดีโอเรื่องนี้หลังจากอ่านบทความในหนังสือพิมพ์ Bangkok Post, bangkokpost.com, หัวข้อคือ: Banks eye Yuan-Baht trade payments ธนาคารหลายแห่งกำลังพิจารณาเกี่ยวกับการใช้เงินสกุลหยวน-บาทในการชำระหนี้ทางการค้า โดยจะขอยกข้อความมาโดยตรงดังนี้: "ธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างการหารือกับธนาคารกลางของจีน ในเรื่องสนับสนุนการใช้เงินสกุลหยวน-บาท ในการชำระหนี้เพื่อที่จะลดความเสี่ยงของตลาดการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราอันเนื่องมาจากความผันผวนของเงินสกุลดอลลาร์ของสหรัฐฯ ตามที่ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ (ผมขอโทษถ้าออกเสียงไม่ถูก) และเจ้าหน้าที่จากธนาคารแห่งประเทศจีนได้จัดให้มีการเจรจากันว่าด้วยความร่วมมือเพิ่มเติมในการสนับสนุนให้ภาคธุรกิจใช้เงินสกุลหยวน-บาท เพื่อชำระหนี้การค้าระหว่าง 2 ประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้วางแผนที่จะพบกับคู่เจรจาฝ่ายจีน ในเดือนหน้าเพื่อเจรจาในประเด็นนี้"
มีอยู่สองสามประเด็นที่ผมอยากจะพูดก่อนที่ทุกคนจะผงะ ผมทราบดีว่าในช่อง YouTube เต็มไปด้วยการพูดที่เกินเลยความจริงจำนวนมาก ในประเด็นของการลดการพึ่งพาเงินดอลลาร์ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมคิดมาหลายปีแล้ว ถ้าจะพูดตรงๆมากกว่า 10 ปีด้วยซ้ำ เพราะเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นแน่นอนในเชิงเศรษฐศาสตร์ ทางหนึ่งก็คือเราต้องทำความชัดเจนตรงนี้ จากประโยคที่จะขอยกมาอีกครั้งคือ: "ธนาคารแห่งประเทศไทยได้วางแผนที่จะพบกับคู่เจรจาฝ่ายจีนในเดือนหน้าเพื่อเจรจาในประเด็นนี้" ขอเน้นคำว่า “วางแผน” คือยังไม่ได้มีการจับตัววางตายอะไรทั้งนั้น และตามที่ได้ฟังจากผู้คนที่ผมสนใจติดตามฟังทาง internet เรื่องนี้จะต้องใช้เวลาสักพักใหญ่ ไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้เพียงชั่วเวลาข้ามคืนที่ทุกคนจะหยุดการใช้เงินดอลล่าร์สหรัฐฯ ไม่มีทางเลย และอีกอย่างหนึ่งที่ผมคิดคือ ทางชาวตะวันตกจะชอบที่จะจมปลักอยู่กับประเด็นเหล่านี้ โดยมองในบริบทหรือในกรอบของเกมแบบผลรวมเป็นศูนย์ คือผู้ชนะได้รับผลเท่ากับจำนวนที่ผู้แพ้เสียไป ซึ่งผมไม่คิดว่ามันจะเป็นอย่างนั้น ผมหมายถึงว่า มองไปถึงห่วงโซ่อุปาทาน (supply chains) ในระบบเศรษฐกิจแบบเอาตะวันตกเป็นศูนย์กลาง ผมคิดว่าในอีกหลายปีข้างหน้าซึ่งอาจจะหลาย 10 ปีถ้าหากมีคนมองย้อนกลับมาที่ยุคนี้ ก็จะเห็นว่ามันจะมีประเด็นอย่างที่ประธานธนาคารกลางของสหรัฐฯ นาย Jay Powell เองก็ได้กล่าวไว้ว่า จะมีประเด็นที่เขาใช้คำว่า "ความเจ็บปวด" ในความจริงเกี่ยวกับเรื่องของเศรษฐกิจภายในสหรัฐฯเอง ขอพักเรื่องนี้ไว้ก่อน มันกำลังจะเป็นเวลาของการเปลี่ยนผ่าน ซึ่งอาจไม่ใช่ช่วงเวลาที่ดีนักสำหรับบางคน แต่ผมคิดว่าเมื่อถึงเวลาที่เราต้องตัดสินใจทำอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วมองย้อนกลับมา ก็จะเห็นถึงพัฒนาการเหล่านี้ ซึ่งพวกนักคิดทางเศรษฐกิจทั้งในสหรัฐฯและในตะวันตกคงจะไม่ปลื้มนัก แต่ความจริงก็คือถ้าหากย้อนกลับไปมองเปรียบเทียบระหว่าง เกมที่ผลรวมเป็นศูนย์ (zero-sum )กับเกมที่ผลรวมไม่เป็นศูนย์ (non zero-sum) บางทีอาจจะดีกว่าที่จะมองเรื่องนี้ทั้งหมดในมุมมองแบบ “ไม่มองว่าใครจะได้ขนมพายขนาดไหนไป แต่มองความเป็นจริงที่ว่า ขนมพายใหญ่ขึ้นเพราะเรามองถึงการบูรณาการของเศรษฐกิจในแถบ Eurasia ซึ่งผมมองว่าภาคพื้น Eurasia ทั้งหมดกำลังเริ่มที่จะถักทอเข้าด้วยกัน โดยเริ่งสังเกตได้ในปี 2023 หลังจากนั้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้ามันจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในย่านกลางของ Eurasia และส่วนกลางของทวีป มันจะเกิดขึ้นค่อนข้างรวดเร็วในรูปแบบของการค้าขายและการพัฒนาสาธารณูปโภค สิ่งที่เรากำลังเห็นในที่นี้ บางทีมันน่าจะเป็นการดีกว่าที่จะมองเรื่องนี้ในมุมมองของ “การมองขนมพายทั้งถาดที่กำลังขยายตัวใหญ่ขึ้น” ครับ ขนาดเปรียบเทียบของห่วงโซ่อุปาทานของตะวันตกอาจจะเล็กกว่า ถ้าเปรียบเทียบกับผู้เล่นรายอื่นในแวดวงเศรษฐกิจโลก แต่ในขณะที่ขนมพายทั้งก้อนกำลังขยายตัวออกไปนั้น ในเรื่องของตำแหน่งสัมพัทธ์ อาจจะมีบางพื้นที่ที่อาจจะไม่มีใครสังเกตเลยว่ามีการเปลี่ยนแปลงเพราะในขณะที่ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้กำลังเกิดขึ้น ก็มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมากมายด้วย และผลก็คือเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ส่งผลให้ผู้เล่นบางคนอาจจะเห็นว่าไม่เห็นจะมีอะไร มันเป็นเรื่องที่จะเห็นกันได้ในภายภาคหน้า นั่นเป็นวิธีการมองของผม ผมไม่มองว่ามันเป็นเกมแบบกินรวบ (zero sum) แต่มุมมองของผมคือมองว่าพายทั้งก้อนจะใหญ่ขึ้น แทนที่จะมองว่าส่วนแบ่งของผมจะมีขนาดใหญ่ขนาดไหน ซึ่งผมจะคอยให้ข้อมูลที่ทันสมัยในช่องรับฟังนี้ถ้าหากสถานการณ์มีการคืบหน้า