Integrity Legal - Law Firm in Bangkok | Bangkok Lawyer | Legal Services Thailand Back to
Integrity Legal

Legal Services & Resources 

Up to date legal information pertaining to Thai, American, & International Law.

Contact us: +66 2-266 3698

info@integrity-legal.com

ResourcesVisa & Immigration LawUS Immigration Lawการดำเนินการขอวีซ่าที่สถานทูตสหรัฐอเมริกา: หน่วยป้องกันการทุจริต

การดำเนินการขอวีซ่าที่สถานทูตสหรัฐอเมริกา: หน่วยป้องกันการทุจริต

Please see English language transcript at: Fraud Prevention Unit

วีดีโอฉบับนี้จะกล่าวถึงหน่วยป้องกันการหลอกลวงและบทบาททางด้านการเข้าเมืองของสหรัฐฯ ซึ่งในวีดีโอก่อนนี้ เคยกล่าวถึงกระบวนการยื่นคำร้องขอวีซ่าแล้ว โดยเฉพาะในแง่ของการสัมภาษณ์เกี่ยวกับวีซ่าครอบครัวเช่นวีซ่าคู่สมรสและวีซ่าคู่หมั้นของพลเมืองอเมริกันและ/หรือผู้อยู่อาศัยถาวรอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

หน่วยป้องกันการหลอกลวง (Fraud Prevention Unit) คือหน่วยกำลัง ซึ่งอยู่ภายในองค์กรที่ดูแลเรื่องการเข้าเมืองของสหรัฐฯ ขึ้นตรงกับกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งโดยปกติ จะมีหน่วยป้องกันการหลอกลวงประจำอยู่ที่สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ หรือสถานกงสุลสหรัฐฯ ในต่างประเทศ ซึ่งจะอยู่ภายภายในหน่วยเกี่ยวกับการออกวีซ่าถาวรและวีซ่าชั่วคราว หน่วยป้องกันการหลอกลวงจะรับมอบหมายหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจสอบและวิเคราะห์สถานะในขั้นตอนของการสัมภาษณ์ ซึ่งโดยปกติ หน่วยนี้จะตรวจดูว่าผู้ยื่นคำร้องเป็นผู้ยื่นที่ถูกต้อง ความสัมพันธ์ระหว่างคู่หมั้นหรือคู่สมรสเป็นความสัมพันธ์ที่แท้จริงหรือไม่   และเมื่อผ่านขั้นตอนของการสัมภาษณ์และไม่พบหลักฐานที่น่าสงสัย จะได้รับวีซ่า แต่หากหน่วยป้องกันการหลอกลวงพบข้อมูลที่น่าสงสัยหรือข้อมูลทางกฎหมายที่เป็นเหตุผลในการไม่อนุมัติวีซ่า ผู้ยื่นคำร้องจำเป็นต้องให้คำอธิบายเพื่อแก้ไขคำตัดสิน เท่ากับว่า หน่วยป้องกันการหลอกลวงคือระดับการป้องกันอีกทางหนึ่งเพื่อปกป้องประเทศสหรัฐฯจากผู้ที่ตั้งใจที่จะทำผิดกฎหมาย

ในประสบการณ์ของผม จะมีตัวบ่งบอกบางอย่างที่หน่วยป้องกันการหลอกลวงจะคอยสังเกตและถ้าหากเจอสถานการณ์หรือข้อมูลที่น่าสงสัย หน่วยนี้จะไม่อนุญาตให้เข้าประเทศด้วยเหตุผลทางกฎหมาย หรือด้วยหลัดฐานบางอย่างที่น่าสงสัย  ในความเห็นของผมสิ่งสำคัญที่สุดคือให้พูดความจริงเสมอ ถ้าอธิบายเหตุผลหรือยื่นคำร้องเพื่อขอยกเว้นการไม่อนุญาติด้วเหตุผลทางกฎหมาย บ่อยครั้งวีซ่าจะได้รับการอนุมัติ  และในความเป็นจริง ถ้าให้ข้อมูลเท็จ ผลกระทบบางอย่างอาจจะเลวร้ายยิ่งกว่าการบอกความจริง เพราะในบางครั้ง ถึงแม้กระบวนการจะใช้เวลานานขึ้น ผลจะดีกว่าการเสี่ยงที่จะโกหกเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลสหรัฐฯ บางครั้งการถูกสัมภาษณ์โดยหน่วยป้องกันการหลอกลวงอาจทำให้เกิดความเครียด แต่เมื่อผู้สัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลเรียบร้อยแล้ว และหากได้รับข้อมูลที่เป็นความจริงทั้งหมดจากผู้เข้าสัมภาษณ์  ปัญหาบางอย่างวอาจจะแก้ไขได้ด้วยการขอยื่นข้อยกเว้น I-601 Waiver หรือถ้าหากไม่มีเหตุที่จะไม่อนุญาตให้เข้าประเทศแต่มีสถานการณ์ที่อธิบายได้ การที่บอกความจริงกับหน่วยป้องกันความหลอกลวงอาจจะจบกระบวนการด้วยการได้รับวีซ่า ดังนั้น ทางที่ดีที่สุดคือ อย่าโกหกสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ

นอกจากนี้ การหลอกลวงเกี่ยวกับการเข้าเมืองมีความผิดทางอาญา และหากถูกจับได้ว่าหลอกลวงตอนเข้าเมือง โดยเฉพาะถ้าเป็นพลเมืองอเมริกัน อาจมีโทษปรับหรืออาจถูกจำคุกซึ่งเป็นเหตุผลที่ไม่ควรโกหกสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ  ส่วนใหญ่แล้ว การสัมภาษณ์เป็นไปอย่างปกติแต่บางครั้ง ถ้าหน่วยป้องกันการหลอกลวงเห็นว่าควรจะต้องมีการตรวจเข้มมากขึ้นก็คือแค่บอกความจริง และการขอความช่วยเหลือจาก นักกฎหมายจะช่วยได้เยอะ เพื่อจะได้มีผู้เชี่ยวชาญที่สามารถจะอธิบายถึงกระบวนการณ์อย่างชัดเจน แต่การโกหกเพราะ อาจเคยมีความผิดทางอาญาหรือแม้อาจเคยอยู่ในสหรัฐนเกินวันหมดเขตของวีซ่า  จะมีแต่ผลร้ายไม่มีผลดี ถ้าหากหน่วยป้องกันความหลอกลวงค้นพบว่าโกหก