Legal Services & Resources
Up to date legal information pertaining to Thai, American, & International Law.
Contact us: +66 2-266 3698
กลับมาดูวีซ่า K-1 และ K-3 อีกครั้งหนึ่ง?
For the English transcript of this video, please go to the following link:
อย่างที่ขึ้นหัวเรื่องไว้ วีดีโอนี้กำลังจะพูดถึงวีซ่า K-1 และ K-3; เราจะกลับมาดูวีซ่าทั้งสองนี้อีกครั้ง วีซ่าสองประเภทนี้เป็นวีซ่าที่แปลกและเหตุผลที่ผมทำวีดีโอแบบนี้เป็นครั้งคราวก็เพื่อที่จะให้ความเข้าใจว่า มาตรฐานวีซ่าถาวรแบบคู่สมรสคือ - CR-1 และ IR-1 - เป็นวีซ่าที่แตกต่างจากวีซ่า K-1 หรือ K-3 วีซ่า K-1 ถูกบัญญัติขึ้นมาสำหรับใช้กับคู่หมั้น ซึ่งย้อนกลับไปตั้งแต่มีการประกาศใช้กฎหมายการเข้าเมืองและสัญชาติ (INA) ส่วนวีซ่า K-3 เกิดขึ้นหลังจากนั้นอีกพักใหญ่ จริงๆแล้วกฎหมายฉบับนี้ถูกสร้างขึ้นมาใน ช่วงปี 1990 โดยประธานาธิบดี Bill Clinton หลังจากที่บัญญัติกฎหมายที่ชื่อว่า Life Act ซึ่งอยู่ภายใต้กฎหมาย INA กฎหมาย Life Act จะเกี่ยวพันกับเรื่องอื่นๆ แต่จะมาสรุปรวมลงในวีซ่า K-3 กฎหมายฉบับนี้ถูกสร้างขึ้นมาในช่วงที่วีซ่า K-1 ใช้เวลาดำเนินการนาน 4-6 เดือน สำหรับวีซ่าถาวรประเภทคู่สมรสคือ CR-1 และ IR-1 นั้นใช้เวลาเป็นปีและในบางกรณีก็หลายปี ระบบการทำงานในช่วงนั้นมันติดขัดไปไม่ได้จริงๆ
ตอนนี้ก็จะมีปัญหาแบบเดิมอีกแล้ว เมื่อไม่นานมานี้ระบบการเข้าเมืองของสหรัฐฯตกอยู่ในภาวะของความสับสนอลหม่าน ผมไม่พอใจกับสภาพของระบบการเข้าเมืองของสหรัฐฯในปัจจุบันเลยจริงๆ แต่กลับมาพูดถึงวีซ่าประเภท K ต่อครับ ขั้นตอนจะแตกต่างกันหน่อยหนึ่ง และข้อแตกต่างใหญ่ๆระหว่างวีซ่า 2 ตัวนี้ รวมทั้งวีซ่าถาวรประเภทคู่สมรสด้วยก็คือ การหาทางหลบเลี่ยงที่จะต้องดำเนินกรรมวิธีที่ศูนย์วีซ่าแห่งชาติ (NVC) ดังนั้น ศูนย์วีซ่าแห่งชาติจึงมีหน้าที่เพียงอย่างเดียวคือนำคำร้องส่งต่อไปยังสถานทูตหรือสถานกงสุลในต่างประเทศ โดยไม่ต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวในขั้นตอนการรับเอกสารและดำเนินการต่อเอกสารเหล่านั้นตามระบบของ NVC แต่อย่างใดทั้งสิ้น สิ่งนี้เป็นข้อดีอย่างมาก สำหรับคนที่กำลังยื่นคำร้อง แต่ข้อเสียของวีซ่า K-1 ถ้าเปรียบเทียบกับวีซ่าถาวรประเภทคู่สมรสคือ คุณจะต้องยื่นขอปรับสถานะในสหรัฐฯเพื่อที่จะได้รับกรีนคาร์ด ซึ่งสำหรับวีซ่า K-3 ก็เช่นเดียวกันแต่วีซ่า K-3 ถูกออกแบบมาให้เป็นเหมือนวีซ่าที่เข้าออกได้มากกว่า 1 ครั้ง (multi-entry visa) แต่วีซ่า K-1 ประเทศคู่หมั้นเป็นวีซ่าที่ใช้ได้ครั้งเดียว คือหนึ่งครั้งจบ ใช้ได้เพียงครั้งเดียวเพื่อเข้าสหรัฐฯ แล้วยื่นขอปรับสถานะเพื่อที่จะได้รับกรีนคาร์ดและอาศัยอยู่ในสหรัฐฯโดยมีฐานะเป็นผู้อยู่อาศัยต่อจากนั้นไป
วีซ่า K-3 ก็สามารถที่จะยื่นขอปรับสถานะได้ด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่จะเดินทางเข้าสหรัฐฯด้วยวีซ่า K-3 แล้วขอปรับสถานะเพื่อรับกรีนคาร์ด ก็ได้ คือมองอีกมุมหนึ่งก็คือ K-3 มีทางเลือกมากกว่า แต่ข้อเสียของ K-3 ก็คือกระบวนที่เรียกว่า การปิดคดีโดยฝ่ายปกครอง (Doctrine of Administrative Closure) ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อ NVC ระบุว่า “คุณไม่มีความจำเป็นต้องใช้วีซ่าประเภทนี้ เพราะวีซ่าประเภทนี้ออกแบบมาสำหรับผู้ที่ไม่สามารถทำวีซ่าประเภทคู่สมรสถาวรได้” ในกรณีที่คำร้องวีซ่าถาวรประเภทคู่สมรสไปถึงศูนย์วีซ่าแห่งชาติก่อนวีซ่า K-3 หรือพร้อมกับ K-3 หรือแม้กระทั่งครั้งหนึ่ง ผมเคยเห็นคำร้องของวีซ่าคู่สมรสไปถึงหลังคำร้องของ K-3 นิดเดียว ศูนย์วีซ่าแห่งชาติก็จะตัดคำร้อง K-3 ออกไปเลย แล้วดำเนินการกับวีซ่าถาวรประเภทคู่สมรสแทน
เพราะฉะนั้น ผู้ที่กำลังคิดจะเดินทางเข้าสหรัฐฯพร้อมกับคู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติ พึงระลึกว่า วีซ่า 2 ประเภทนี้มีความแตกต่างกันอย่างมากในหลายแง่มุม และก็มีความแตกต่างอย่างมากจากวีซ่าอื่นๆที่อยู่ในประเภทครอบครัวด้วย