Legal Services & Resources
Up to date legal information pertaining to Thai, American, & International Law.
Contact us: +66 2-266 3698
จำเป็นต้องสมรสกับคู่หมั้นชาวไทยหรือไม่?
Translation of the above video on, for the original English language transcript please see K-1 Visa Thailand: Do I Have to Marry My Thai Fiancée?
จำเป็นต้องสมรสกับคู่หมั้นชาวไทยหรือไม่?
Videos ฉบับนี้จะพูดถึงวีซ่า K-1 (ประเภทคู่หมั้น) และผลกระทบของวีซ่า K-1
อย่างที่เคยกล่าวมาแล้วในวีดีโออื่น วีซ่า K-1 เป็นวีว่าที่น่าสนใจเพราะมีจุดประสงค์ 2 อย่างในวีซ่าฉบับเดีบว สิ่งแรกคือจะเป็นวีซ่าที่ออกให้ทำหน้าที่เหมือนวีซ่าของผู้ไม่ขอย้ายมาอยู่อาศัยแต่จะมี สิ่งแอบแฝงอยู่อีกอย่างหนึงคือ จะเข้ากระบวนการและมีกลไกเหมือน การขอเข้ามาอยู่อาศัย เมื่อบุคคลผู้นั้นได้เดินทางเข้าสหรัฐฯแล้ว
ดังที่กล่าวมาแล้วในวีดีโออื่นๆ เมื่อผู้ถือวีซ่า K-1 เดินทางเข้างสหรัฐฯ บุคคลผุ้นั้นจะมีเวลา 90 วันที่จะสมรสกับคู่หมั้นชาวอเมริกันและเปลี่ยนสถานะเป็นผู้อยู่อาศัยอย่างถาวร คำถามที่เกิดขึ้นบ่อย (ซึ่งบางคนอาจจะคิดว่าเป็นคำถามที่ไร้สาระ) คือ “ฉันจำเป็นที่จะต้องแต่งงานกับคู่หมั้นในสหรัฐหรือไม่?”
สถานการณ์ในชีวิตประจำวันสามารถเปลี่ยนแปลงได้ และในช่วง 1950 สภาคองเกรสได้กำหนดขอบเขตของวีซ่า K-1 โดยระบุว่า 90 วันน่าจะเป็นเวลาที่เพียงพอที่คู่หมั้นคู่นั้นจะได้ทำการคุ้นเคยกันเมื่ออญุ่ในสหรัฐ และคงรู้ว่าเข้ากันได้หรือไม่จึงตัดสินใจที่จะสมรสและยื่นขอเปลี่ยนสถานะของคู่หมั้นชาวต่างชาติให้มาเป็นผู้อยุ่อาศัยอย่างถาวร ในอย่างไรก็ตามถึงแม้ขณะกรอกและยื่นคำร้องและตอนเริ่มกระบวนการ K-1 คู่หมั้นมีความต้องการที่จะสมรสอย่างแท้จริง เมื่เดินทางถึงสหรัฐน บางสิ่งบางอย่างอาจเปลี่ยนแปลงได้( ซึ่งในบางกรณีคู่หมั้นอาจขออยู่ด้วยกันและสมรสในภายหลังเพราะอาจมองว่า ณ.เวลาที่เดินทางไปถึงสหรัฐฯไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมที่จะสมรส ซึ่งเกิดขึ้นได้) หากคู่หมั้นชาวต่างชาติอยู่ในสหรัฐฯไม่เกิน 90 วัน จะถือว่าไม่ได้ทำอะไรผิดระเบียบของวีซ่า K-1 แต่หากมีการยื่นคำร้องขอวีซ่า K-1 อีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ยกเลิก K-1 ฉบับก่อนนั้น อาจทำให้เกิดข้อสงสัยเพราะมีการยื่น K-1 หลายครั้ง (ซึ่งเคยพูดถึงในวีดีโอก่อนหน้านี้) อย่างไรก็ตาม ผลกระทบต่อชาวต่างชาติไม่เป็นข้อเสียถ้าเต็มใจเดินทางออกจากสหรัฐก่อนที่วีซ่าจะหมดอายุ 90 วัน เจ้าหน้าที่จะมองว่าไม่ต้องการสมรสกับคู่หมั้น ซึ่งจะไม่มีผลกับข้อมูลเกี่ยวการการเข้าเมืองของการเข้าสหรัฐฯ
อีกประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับวีซ่า K-1คือจะใช้กับผู้ยื่นคำร้องและผู้รับผลประโยชน์ที่ระบุในเอกสารเท่านั้น ดังนั้นถ้าคู่หมั้นชาวต่างชาติเข้าสหรัฐฯ ด้วยวีซ่า K-1 แต่ความสัมพันธ์ไม่เป็นอย่างที่คิดจึงไม่สมรส หากเจอคนใหม่ในสหรัฐฯและต้องการสมรสกับคนใหม่ จะไม่สามารถใช้ K-1 ฉบับเดิม ต้องยื่นคำขอใหม่ ข้อกำหนดของวีซ่า K-1 ระบุไว้ว่าบุคคลสองคนที่เป็นผู้ยื่นคำร้องและผู้รับผลประโยชน์ที่ระบุในเอกสารเท่านั้นที่สามารถใช้ได้ คู่หมั้นชาวต่างชาติจะต้องเดินทางออกจากสหรัฐ และเข้ากระบวนการขอวีซ่าใหม่เพื่อเพื่อแสดงการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ ซึ่งจะต้องขอย้ำว่าเหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยแต่ก็เป็นสิ่งที่ควรจดจำเกี่ยวกับกระบวนการนี้เพื่อเป็นข้อมูล