Integrity Legal - Law Firm in Bangkok | Bangkok Lawyer | Legal Services Thailand Back to
Integrity Legal

Legal Services & Resources 

Up to date legal information pertaining to Thai, American, & International Law.

Contact us: +66 2-266 3698

info@integrity-legal.com

ResourcesVisa & Immigration LawUS Immigration Lawคู่รักสาวชาวไทยได้รับการปฏิเสธวีซ่านักท่องเที่ยวเข้าสหรัฐฯ: ควรทำอย่างไรดี?

คู่รักสาวชาวไทยได้รับการปฏิเสธวีซ่านักท่องเที่ยวเข้าสหรัฐฯ: ควรทำอย่างไรดี?

Please see English language transcript at: US Tourist Visa Application Denied.

วิดีโอฉบับนี้จะกล่าวถึงวิธีการปฏิบัติหากคู่รักสาวชาวไทยของหนุ่มอเมริกัน ได้รับการปฏิเสธเมื่อขอวีซ่าประเภทนักท่องเที่ยวเข้าสหรัฐฯ ซึ่งมีผู้คนจำนวนมากทีเดียวที่โทรศัพท์หาเราที่สำนักงานด้วยคำถาม เดิมซ้ำๆกันว่า “เราขอวีซ่านักท่องเที่ยวและได้รับการปฏิเสธ ควรทำอย่างไรต่อ?” คำตอบสั้นๆคือ “มันขึ้นอยู่กับสถานการณ์”

ในความเห็นของผม บ่อยครั้งที่ผู้ยื่นขอวีซ่าให้แฟนเข้าสหรัฐฯจะได้รับการปฏิเสธซึ่งประเด็นหลักอยู่ที่ มาตรา 214 (b) ของ กฎหมายการเข้าเมืองและสัญชาติสหรัฐฯ  (ซึ่งมีวิดีโออีกฉบับหนึ่งที่ให้ข้อมูลเรื่องมาตรา 214 (b) โดยเฉพาะ ซึ่งดูผ่านๆก็พอ) สาระสำคัญโดยสรุปก็คือ การวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่กงสุลในกรณีของวีซ่านักท่องเที่ยวขึ้นอยู่กับประเด็น “ความผูกพันมาก หรือความผูกพันน้อย” เป็นสำคัญ กล่าวคือ ผู้ยื่นคำร้องขอวีซ่า มีความผูกพันอย่างมากกับบ้านเกิดของตน หรือประเทศที่สามซึ่งไม่ใช่สหรัฐฯและมีความผูกพันที่น้อยกับสหรัฐ ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว หลักการวิเคราะห์แบบนี้ มักจะไม่เข้าข้างผู้ยื่นคำร้องคนนั้นในกรณีที่ผู้ยื่นเป็นหญิงโสดหรือชายโสดชาวไทยและเป็นคู่รักกับพลเมืองอเมริกัน  มีหลายคนเคยถามผมว่า “เมื่อเราทำวีซ่านักท่องเที่ยวเข้าสหรัฐฯ เราไม่ต้องบอกว่าเรามีแฟนเป็นพลเมืองอเมริกันได้มั้ย?” ซึ่งผมก็ได้อธิบายว่าการทำเช่นนั้น เป็นการกระทำที่ไม่ฉลาดและไม่รอบคอบเอาเสียเลย เนื่องจาก ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะให้ข้อมูลอันเป็นเท็จกับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ทั้งในสหรัฐฯ หรือเจ้าหน้าที่กงสุลที่สถานทูตในต่างประเทศ ฉะนั้น สิ่งที่วิดีโอนี้จะขอเน้นย้ำก็คือ “อย่าโกหกต่อเจ้าหน้าที่เป็นอันขาด”   ถึงแม้ในคำร้องจะไม่มีคำถามว่า “มีแฟนชาวอเมริกันหรือไม่?” แต่ในแบบฟอร์ม DS-160ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ  จะต้องกรอกว่าจะพักอาศัยที่ไหนซึ่งควรกรอกตามความเป็นจริง เพราะหากเจ้าหน้าที่พบในภายหลังว่าได้มีการให้ข้อมูลเท็จก็จะถูกปฏิเสธการเข้าสหรัฐฯด้วยเหตุผลว่า มีการหลอกลวงหรือมีการสำแดงหลักฐานอันเป็นเท็จ

สิ่ งต่อไปที่อยากจะอธิบายคือ แม้จะเป็นการให้ข้อมูลที่ถูกต้องทั้งหมดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการเดินทางเข้าสหรัฐฯ หรือสิ่งที่จะไปดำเนินการในสหรัฐฯ  ซึ่งคุณสามารถยื่นคำร้องขอวีซ่าได้ตามปกติ แต่มาตรา 214 (b) เป็นขีดจำกัดกั้นที่มีระดับสูงมากๆสำหรับสถานการณ์เช่นนี้ เพราะทางการสหรัฐฯจะมองว่า นี่เป็นโอกาสที่ดีสำหรับบุคคลที่มีคู่รักเป็นชาวอเมริกัน ที่จะใช้วีซ่านักท่องเที่ยวเดินทางเข้าสหรัฐฯ เพื่อทำการสมรสและขอปรับสถานะเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรที่ถูกต้องตามกฏหมายต่อไป  เหตุที่เขามองแบบนั้นเป็นเพราะในอดีตเคยเกิดกรณีแบบนี้ขึ้นบ่อยครั้งมาก จึงมีผลต่อผู้ยื่นขอวีซ่านักท่องเที่ยวในปัจจุบันซึ่งมักจะถูกปฏิเสธ และถึงแม้จะยื่นคำร้องใหม่ ถ้าหากสถานการณ์ของผู้ยื่นยังไม่เปลี่ยนแปลงก็คงจะได้รับการปฏิเสธอีกครั้ง นอกจากนี้ยังมีหลายคนถามว่ามีโอกาสที่จะอุทธรณ์ คำตัดสินได้หรือไม่ คำตอบก็คือ “ไม่ได้” เพราะเจ้าหน้าที่กงสุล มีสิทธิ์เด็ดขาดในการตัดสินใจว่าจะอนุมัติวีซ่าหรือไม่ ซึ่งสิทธิ์เด็ดขาดนี้เกิดขึ้นนานมาแล้วตั้งแต่ในอดีตราวต้นศตวรรษที่19 เมื่อศาลฎีกาตัดสินใจมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่กงสุลเป็นผู้ตัดสินว่าอนุมัติหรือไม่ และในประสบการณ์ของผม เจ้าหน้าที่กงสุลเป็นผู้ที่ทำตามหน้าที่ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ดังนั้น “การอุทธรณ์คำตัดสิน” จึงไม่ใช่ทางเลือกแน่นอน อย่างไรก็ตาม หากมีความจำเป็นที่สมเหตุสมผล ต่อการที่จะต้องเดินทางไปสหรัฐฯโดยสามารถแสดงเอกสารหลักฐานที่น่าสนใจและเป็นที่ยอมรับได้เป็นการเพิ่มเติม  ก็มีความเป็นไปได้ที่จะขอให้เจ้าหน้าที่กงสุลพิจารณาคำร้องอีกครั้งหนึ่ง

ประเด็นต่อไปจะกล่าวก็คือ การวิเคราะห์คำร้องในลำดับถัดไปเจ้าหน้าที่จะเพ่งเล็งเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของคู่สมรสที่จะเดินทางไปสหรัฐฯ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมต้องการทำความเข้าใจกันให้ชัดเจน และผมขอแนะนำว่าไม่ควรตัดสินใจเลือกทางเดินชีวิต ด้วยเหตุผลเพียงเพื่อที่จะแลกกับผลประโยชน์ที่จะได้รับจากผลของการเข้าเมืองโดยอาศัยความสัมพันธ์ในฐานะคู่รักหรือคู่แต่งงาน  ซึ่งอาจถูกมองว่าเป็นกรณีหลอกลวงหรือเป็นการสำแดงเท็จ  หรืออาจถูกจัดอยู่ในประเภท “การสมรสที่เสแสร้ง” ดังนั้น จึงไม่ควรคิดง่ายๆที่จะเริ่มต้นด้วยการขอวีซ่าประเภทครอบครัว โดยปฏิเสธฐานะการเป็นคู่รัก  หรือใช้การขอวีซ่าท่องเที่ยวเป็นทางเลือกถัดไป  นอกเสียจากว่ามีความตั้งใจจริงอยู่แล้วว่าจะสมรสกับชาวต่างชาติเมื่อเดินทางไปถึงสหรัฐฯ ก็สามารถขอวีซ่าK-1( ประเภทคู่หมั้น) ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้และจะเป็นผลดี 2 อย่างคือ มาตรา 214(b) จะไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง และประการที่สอง ถึงแม้กระบวนการจะยาวกว่าการขอวีซ่านักท่องเที่ยว แต่เมื่อกระบวนการจบสิ้น บุคคลผู้นั้นสามารถที่จะเดินทางเข้าสหรัฐฯ และเปลี่ยนสถานะเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรที่ถูกต้องตามกฏหมาย และในทางทฤษฎีแล้ว ในอนาคตยังมีสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนสัญชาติเป็นพลเมืองสหรัฐฯได้อีกด้วย  กล่าวโดยสรุปคือ มาตรา 214(b) เป็นอะไรที่ข้ามผ่านได้ยากเย็นแสนเข็ญจริงๆ  ดังนั้นหากความสัมพันธ์ของทั้งคู่เป็นความสัมพันธ์ของคู่หมั้นอย่างแท้จริงหรือถ้าต่อไปคู่นั้นแต่งงานกันอย่างถูกต้องตามกฏหมาย ก็สามารถขอวีซ่าคู่สมรสได้เช่นกัน (มีวีดีโอฉบับอื่นที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวีซ่าคู่หมั้น K-1 และวีซ่าคู่สมรสซึ่งมี 3 ประเภทคือ CR-1, IR-1 และ K-3)  ดังนั้นสิ่งที่คุณจะได้จากวิดีโอนี้ก็คือ ถ้าหากคุณถูกปฏิเสธวีซ่านักท่องเที่ยวที่กำลังขอให้แฟน ก็ขอให้เข้าใจว่าการปฏิเสธเป็นเรื่องธรรมดาและยังมีทางเลือกอื่นให้พิจารณา แต่ขอแนะนำว่า ไม่ควรคำนึงถึงแต่เพียงผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการเข้าเมืองเท่านั้น มาใช้เป็นประเด็นหลักในการตัดสินใจในเรื่องการใช้ชีวิตต่อไป เพราะข้อหาการสมรสที่เสแสร้ง รวมทั้ง การหลอกลวงและการสำแดงหลักฐานเท็จ เป็นข้อหารุนแรงที่จะถูกปฏิเสธการเข้าประเทศ