Integrity Legal - Law Firm in Bangkok | Bangkok Lawyer | Legal Services Thailand Back to
Integrity Legal

Legal Services & Resources 

Up to date legal information pertaining to Thai, American, & International Law.

Contact us: +66 2-266 3698

info@integrity-legal.com

ResourcesVisa & Immigration LawUS Immigration Lawควรใช้บริษัททำวีซ่าเพื่อยื่นวีซ่านักท่องเที่ยวเข้าสหรัฐหรือไม่?

ควรใช้บริษัททำวีซ่าเพื่อยื่นวีซ่านักท่องเที่ยวเข้าสหรัฐหรือไม่?

วิดีโอเรื่องนี้จะกล่าวถึงการใช้บริการรของบริษัทรับทำวีซ่าและใบคำร้องวีซ่าประเภท วีซ่านักท่องเที่ยวเข้าสหรัฐฯ 

เมื่อผมใช้คำว่า “วีซ่านักท่องเที่ยวเข้าสหรัฐฯ” ผมจะหมายรวมถึงวีซ่า B1, B2 หรือ B1/B2  

มีหลายคนเคยถามผมเรื่องการทำวีซ่าเข้าสหรัฐฯ ว่าผมรับยื่นวีซ่านักท่องเที่ยวหรือไม่ ซึ่งตาม ความเป็นจริงในช่วงเวลา 11, 12 ปีที่ผมทำงานเกี่ยวกับการเข้าเมืองสหรัฐฯ ผมได้ทำเรื่องวีซ่า นักท่องเที่ยวน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่แล้ววีซ่าประเภทนี้มีโอกาสที่จะได้รับกำรปฏิเสธสูงมาก โดยเฉพาะถ้าทำผ่านสถานเอกอัคคราชฑูตสหรัฐฯ ประจำกรุงเทพฯ กรณีที่พบบ่อยคือผู้ยื่นขอวีซ่าจะเป็นหญิงไทยที่โสดและกำลังมีความสัมพันธ์กับพลเมืองอเมริกัน หรือผู้อยู่อาศัยถาวรที่ถูกต้องตามกฎหมายในสหรัฐฯ และต้องการวีซ่านักท่องเที่ยวเพื่อไปเยี่ยมเยียนบุคคลผู้นั้น แต่โชคไม่ดีตรงที่มาตรา 214 (b) ของกฎหมายเกี่ยวกับการเข้าเมืองและสัญชาติของสหรัฐฯนั้น นับว่าเป็นปราการด่านสำคัญของการเข้าเมือง และการที่จะก้าวข้ามผ่านด่านนี้ไปได้นั้น เป็นสิ่งที่ลำบากยากยิ่ง (มีวิดีโออีกหลายม้วนที่กล่าวถึง มาตรา 214 (b) ของกฎหมายเกี่ยวกับการเข้าเมืองและสัญชาติสหรัฐฯ โดยเฉพาะ)

กล่าวโดยสรุปคือ เจ้าหน้าที่กงสุลผู้พิจำรณาคำร้องวีซ่าประเภทนักท่องเที่ยวจำเป็นต้องวิเคราะห์ให้ได้ ว่าผู้ยื่นคำร้องมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับประเทศไทยหรือประเทศอื่นที่เป็นสถานที่ใช้ยื่นคำร้อง แต่มีควำมสัมพันธ์ที่ไม่แน่นแฟ้นกับสหรัฐฯ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผู้ยื่นคำร้องวีซ่านักท่องเที่ยวเข้าสหรัฐฯ จะเป็นผู้หญิงไทยที่มีความสัมพันธ์กับคนอเมริกัน (ซึ่งอาจจะยัง ไม่ใช่คู่หมั้นหรือคู่สมรส) และถึงแม้ผู้นั้นต้องการเพียงแต่จะไปเที่ยวสหรัฐฯ แต่เจ้าหน้าที่กงสุลก็จะยังคงปฏิเสธคำร้องอยู่ดีโดยอ้างเหตุผลตามมาตตรา 214(b) นี่เอง

ด้วยเหตุที่สภาพแวดล้อมของการยื่นคำร้องขอวีซ่าประเภทนักท่องเที่ยวเข้าสหรัฐฯเป็นแบบนี้ ที่ผ่านมาผมจึงไม่ค่อยรับทำวีซ่าประเภทนักท่องเทยี่วเพราะ

1) เราเองก็ไม่สามำรถทำให้การยื่นคำร้องดูมีคุณค่าเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด

2) คำร้องมีโอกาสที่จะได้รับการปฏิเสธสูงมาก

ผมจึงคิดว่าเป็นการไม่ถกูต้องตามหลักจรรยาบรรณที่จะรับทำคำร้องเหล่านี้

แต่หากผู้ยื่นคำร้องต้องการที่จะยื่นวีซ่าด้วยตัวเอง ผมขอแนะนำให้พูดความจริงในคำร้องและ สิ่งที่ผมอยากที่จะบอกเพิ่มเติมคือ ให้ระวังเรื่องบริษัทที่รับทำวีซ่าเพราะถึงแม้บริษัทเหล่านั้นจะ บอกว่า “ไม่มีปัญหา สบายมาก” แต่จริงๆแล้ว ส่วนใหญ่จะไม่สามารถรับประกันได้เลยว่าจะได้รับวีซ่านักท่องเที่ยวหรือแม้แต่วีซ่าประเภท B1/ B2 ก็ตาม คืออย่างที่ผมพูดไว้ตอนต้นนั่นแหละครับว่าโอกาสที่จะได้รับวีซ่าเป็นไปได้ยากมาก ดังนั้น โดยสรุป บางครั้งอาจมีบางคนที่ต้องการความช่วยเหลือจากนักกฎหมายในกรณีดังกล่าว แต่ในความคิดของผม นักกฎหมายที่รับทำเรื่องนี้ก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้มากนัก ซึ่งผมเองจะไม่รับงานนี้มากนักเพราะการยื่นคำร้องสามารถทำด้วยระบบออนไลน์โดยใช้แบบฟอร์ม DS-160 ดังนั้นหากตั้งคำถามว่า “ทนายช่วยอะไรได้หรือไม่?” คำตอบก็คือ “ไม่ได้” แม้ในการแปลเอกสารก็ตาม ก็ไม่จำเป็นต้องใช้บริษัทรับทำวีซ่าดำเนินการให้เพราะสามารถที่จะหาบริษัทแปลได้เอง นอกจากนี้ ต้องเตือนว่าควรระวังเมื่อติดต่อบริษัทเหล่านี้เพราะมีหลายคนเคยเล่าให้ฟังและเคยเจอด้วยตัวเองว่า มีการรับปากว่าทำได้และแนะนำลูกค้าให้ใส่ข้อมูลที่ไม่เป็นจริงบ้าง ซึ่งต่อไปอาจจะเกิดปัญหาใหญ่ กว่าตามมาเพราะหากใส่ข้อมูลเท็จไม่เพียงแต่จะทำให้อนุมานได้ว่ามีเจตนาหลอกลวงเพื่อเข้าประเทศ แต่การถูกตรวจพบว่าได้สำแดงข้อมูลอันเป็นเท็จนั้น จะเป็นผลถูกห้ามเข้าประเทศต่อไปอีกด้วย

ฉะนั้น โดยสรุป ในวิดีโอเรื่องนี้ ผมขอสรุปว่าโอกาสที่จะได้รับการปฏิเสธคำร้องขอวีซ่าประเภทท่องเที่ยวมีอยู่สูงมาก โดยเฉพาะในประเทศไทย นอกจากนี้จะต้องพิจารณาด้วย ว่าการว่าจ้างบริษัทรับทำวีซ่าให้ดำเนินการให้ จะมีประโยชน์จริงหรือไม่ และสุดท้ายก็คือ การติดต่อบริษัทที่ให้บริการด้านการทำวีซ่าต้องระมัดระวังด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เพราะ คุณสามารถทำได้ด้วยตัวเองด้วยระบบออนไลน์และหากมีใครแนะนำให้โกหก ขอให้เชื่อว่า นั่นไม่เป็นความคิดที่ดีเลย เพราะอาจจะนำไปสู่การปฏิเสธไม่ให้เข้าเมืองตามมาในภายหลัง หากตรวจพบว่ามีการหลอกลวงและสำแดงข้อมูลอันเป็นเท็จ

โปรดดูเนื้อหาในเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษที่นี่: US tourist visa service Thailand.