Legal Services & Resources
Up to date legal information pertaining to Thai, American, & International Law.
Contact us: +66 2-266 3698
วีซ่านักท่องเที่ยวเข้าสหรัฐฯจากประเทศไทย: สิ่งที่รู้ กับ ความเป็นจริง
For the English transcript of this video, please go to the following link:
วีดีโอเรื่องนี้จะกล่าวถึงวีซ่านักท่องเที่ยวเข้าสหรัฐฯ ซึ่งมีการเรียกชื่อผิดๆอยู่มากในเรื่องวีซ่าประเภทนักท่องเที่ยวนี้ หลายครั้งที่ผมได้คุยกับลูกค้าหรือคนที่คาดว่าจะเป็นลูกค้า และบุคคลเหล่านั้นยังมีความเข้าใจผิดๆในเรื่องกรรมวิธีดำเนินการของวีซ่าประเภทนักท่องเที่ยวเข้าสหรัฐฯ
สิ่งแรกคือ ความเข้าใจผิด หรือการรับรู้มาผิดๆ ว่าการที่จะทำวีซ่านักท่องเที่ยวก็เพียงแต่เดินไปที่สถานทูต เคาะประตู เดินเข้าไปกรอกคำร้อง แล้วยื่นเรื่องเพื่อขอทำวีซ่านักท่องเที่ยว จากนั้นเจ้าหน้าที่จะสำรวจตรวจสอบคุณ อาจขอรูปถ่าย แล้วพอผู้ยื่นขอวีซ่าลงนามในเอกสาร เจ้าหน้าที่ก็จะออกวีซ่าให้ทันที แต่ในความเป็นจริง กรรมวิธีในการดำเนินการไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย สิ่งแรกที่ต้องเข้าใจคือ การนัดเพื่อทำวีซ่านักท่องเที่ยวมีคิวยาวประมาณ 1 ปี ปัจจุบันนี้คุณต้องรอหลายเดือนมากกว่าจะได้รับนัดเพื่อสัมภาษณ์ แต่หวังว่าเมื่อผ่านปี 2022 ไปแล้ว บรรดาข้อห้ามต่างๆอันเนื่องมาจากโรคระบาดจะเริ่มถดถอยไปเป็นฉากหลัง ซึ่งผมคิดว่ามันคงไม่เกิดขึ้นเร็วนัก แต่คำถามก็คือ ในระหว่างการถดถอยนั้นเรายังจะยังต้องเจอกับสภาวะของงานคั่งค้างอีกหรือ? เป็นคำถามที่ดีมากเลย ถึงกระนั้น การนัดสัมภาษณ์เพื่อทำวีซ่านักท่องเที่ยวอาจจะต้องใช้เวลาถึง 6-8 หรือ 10 สัปดาห์ก็เป็นได้ แม้ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่ดีมากแล้วก็ตาม
ประเด็นใหญ่ที่คนเข้าใจผิดอีกเรื่องหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นกรณีของคนที่มีความสัมพันธ์กับพลเมืองไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงไทย เราเห็นลูกค้าหลายคนที่พอยื่นคำร้องขอวีซ่านักท่องเที่ยวเสร็จ ก็จะรู้สึกหงุดหงิดมากเพราะแทบจะไม่มีการวินิจฉัยคำร้องเลย เหตุที่ไม่มีการวินิจฉัยคำร้องนั้นน้อย ก็เพราะสิ่งที่เรียกว่ามาตรา 214(b)ของกฎหมายการเข้าเมืองและสัญชาติ ซึ่งเคยกล่าวไว้แล้วในวีดีโอม้วนอื่น มาตรานี้ทำให้เกิดมาตรฐานการปฎิบัติว่าเจ้าหน้าที่กงสุลจะต้องมีความมั่นใจอย่างเพียงพอว่าผู้ยื่นคำร้องมีความผูกพันอย่างแน่นแฟ้นกับประเทศบ้านเกิด ซึ่งในกรณีนี้คือประเทศไทยหรือไม่ก็เป็นประเทศอื่นที่ไม่ใช่สหรัฐฯและมีความผูกพันอย่างหลวมๆกับสหรัฐฯ ดังนั้น ความเข้าใจผิดอันใหญ่ที่เราพบเห็นก็คือ ลูกค้าเราคิดแต่เพียงว่า "ผมอยากพาแฟนสาวไปเที่ยวสหรัฐฯ" นั่นคือ สาวคนนั้นกำลังมีความสัมพันธ์กับพลเมืองสหรัฐฯอยู่นะ ซึ่งไม่ได้ช่วยทำให้การวิเคราะห์ถึงความผูกพันหลวมๆที่มีต่อประเทศสหรัฐฯมีน้ำหนักมากขึ้นแต่อย่างใด
สิ่งที่ควรจะได้จากวิดีโอเรื่องนี้ ผมอยากให้เข้าใจว่ามีความเข้าใจผิดอยู่มากทีเดียวในเรื่องวีซ่านักท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นของกรรมวิธีการพิจารณา รวมทั้งความเข้าใจผิดในเรื่องการถูกปฏิเสธวีซ่า ซึ่งผมไม่อยากพูดแบบนี้ แต่แทบจะในทุกกรณี ถ้าหากปรากฎว่ามีความสัมพันธ์กับพลเมืองอเมริกัน เกือบทั้งหมดจะถูกปฏิเสธวีซ่าภายใต้มาตรา 214(b) ซึ่งจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติก็ว่าได้ การถูกปฏิเสธจะทำให้รู้สึกหงุดหงิดมากเพราะผู้ยื่นคำร้องได้จัดเตรียมเอกสารมากมายเพื่อยื่นขอทำวีซ่า แต่เจ้าหน้าที่กงสุลอาจจะไม่มองเอกสารเลยด้วยซ้ำ เพราะภายใต้มาตรา 214(b) การวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์หลวมๆกับสหรัฐฯ ถือเป็นประเด็นหลัก นอกจากนี้ คุณจะต้องระลึกไว้ในใจเสมอถึงสิ่งที่เรียกว่า หลักนิยมการมีอำนาจเด็ดขาดของเจ้าหน้าที่กงสุล หรือหลักนิยมการไม่สามารถทบทวนการวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่กงสุลได้ คือไม่สามารถอุทธรณ์สิ่งที่เจ้าหน้าที่กงสุลพิจารณาตัดสินแล้วได้ ซึ่งในอดีต เคยมีการนำเรื่องนี้ขึ้นสู่ศาลสูง และศาลก็ได้พิจารณาว่าจะไม่เข้าไปก้าวก่ายในหน้าที่ของเจ้าหน้าที่กงสุลที่ประจำการในต่างประเทศ เพราะมีกฎหมายข้อ 214(b) เป็นตัวตั้งอยู่แล้ว
เพราะฉะนั้น ถ้าหากกำลังรับฟังวีดีโอเรื่องนี้และคุณกำลังจะขอวีซ่านักท่องเที่ยวให้คู่รัก คุณอาจจะต้องคิดใหม่เพราะอาจจะเป็นการโยนเงินทิ้งและเสียเวลาเปล่าๆ แต่สถานการณ์อาจจะแตกต่างกันออกไป บางสถานการณ์อาจมีทางเลือกที่ดี ซึ่งต้องเข้าใจว่าในแต่ละคำร้องจะแตกต่างกัน แต่ถ้าต้องมาเจอกับมาตรา 214(b) อันเนื่องจากการมีความสัมพันธ์กับพลเมืองสหรัฐฯแล้วล่ะก็ นั่นจะเป็นอุปสรรคสำคัญที่ข้ามไปได้ยาก