Integrity Legal - Law Firm in Bangkok | Bangkok Lawyer | Legal Services Thailand Back to
Integrity Legal

Legal Services & Resources 

Up to date legal information pertaining to Thai, American, & International Law.

Contact us: +66 2-266 3698

[email protected]

ResourcesVisa & Immigration LawUS Immigration Lawทำไมวีซ่านักท่องเที่ยวไปสหรัฐฯที่ยื่นในประเทศไทยจึงถูกปฏิเสธ?

ทำไมวีซ่านักท่องเที่ยวไปสหรัฐฯที่ยื่นในประเทศไทยจึงถูกปฏิเสธ?

For the English transcript of this video please go to the following link: 

https://www.legal.co.th/resources/visa-immigration-law/us-immigration-law/why-do-us-tourist-visa-applications-thailand-get-denied/

วีดีโอเรื่องนี้จะกล่าวถึงการยื่นขอวีซ่าประเภทนักท่องเที่ยวเข้าสหรัฐฯ โดยจะกล่าวเฉพาะลงไปที่กรณีของผู้ที่ยื่นขอวีซ่าประเภทนี้ในกรุงเทพฯ สิ่งที่ต้องเข้าใจคือ แต่ละสถานทูตหรือแต่ละสถานกงสุลจะมีวิธีการปฏิบัติที่แตกต่างกัน ในจังหวัดเชียงใหม่ก็มีสถานกงสุลที่ออกวีซ่าประเภทนักท่องเที่ยวให้ได้เช่นกัน แต่กล่าวเฉพาะสำหรับประเทศไทยแล้ว เราจะเห็นประเด็นที่เหมือนกันจำนวนมากเกี่ยวกับวีซ่านักท่องเที่ยวที่ขอในประเทศไทย ขอย้ำอีกครั้งว่าแต่ละสถานทูตจะมีวิธีการปฏิบัติที่แตกต่างกัน ดังนั้นการวิเคราะห์ในวีดีโอเรื่องนี้แม้ผมจะคิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับหลายคน แต่ก็จะเน้นที่ประเทศไทย ทั้งนี้ เป็นการวิเคราะห์จากประสบการณ์ของผม รวมทั้งจากข้อมูลและหลักฐานที่ผมได้ยินได้ฟังมาในประเทศนี้

เป็นเรื่องจริงที่ผู้ยื่นขอวีซ่าประเภทนักท่องเที่ยวเข้าสหรัฐฯจะได้รับการปฏิเสธโดยสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯในกรุงเทพฯอยู่บ่อยครั้ง โดยมีการอ้างถึงมาตราที่ 214B ของกฎหมายว่าด้วยการเข้าเมืองและสัญชาติ ซึ่งภายใต้กฎหมายนั้นจะมีแรงกระตุ้นของเจ้าหน้าที่กงสุลที่ได้ตั้งไว้ในใจว่าผู้ที่ยื่นคำร้องจะต้องแสดงให้เห็นว่า ไม่เพียงแต่จะมีความผูกพันที่แน่นแฟ้นกับประเทศบ้านเกิดของตัวเองเท่านั้น ซึ่งในที่นี้หมายถึงประเทศไทย แต่ยังต้องแสดงให้เห็นถึงความผูกพันแบบหลวมๆกับสหรัฐฯอีกด้วย ซึ่งความผูกพันที่แน่นแฟ้นจะค่อนข้างง่ายสำหรับคนส่วนใหญ่ เพราะสามารถจะบอกได้ว่า "อ๋อผมมีภรรยา ภรรยาผมมีบ้านในประเทศไทย หรือเธอเป็นเจ้าของคอนโด หรือเธอมีงานทำ เป็นต้น" - ซึ่งความผูกพันที่แน่นแฟ้นจะไม่เคยเป็นประเด็นหลัก แต่สิ่งที่เราเห็นบ่อยในวีซ่านักท่องเที่ยวที่ถูกปฏิเสธคือ การที่ไม่สามารถแสดงถึงความผูกพันแบบหลวมๆกับสหรัฐฯ และมันเป็นสิ่งที่น่าเสียดายว่าการที่มีความสัมพันธ์กับชาวต่างชาติส่วนใหญ่แล้ว จะเพียงพอที่จะถูกมองว่าผู้นี้ไม่ได้มีความผูกพันแบบหลวมๆกับสหรัฐฯเลย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากผู้ยื่นคำร้องได้สมรสกับคนอเมริกัน โดยตัวของมันเองเพียงเท่านี้ ก็อาจจะถูกมองว่ามีความผูกพันที่แน่นแฟ้นโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างประเทศที่กำลังพิจารณาคำร้อง ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเข้าเมือง 

เพราะฉะนั้นจะสรุปอย่างไร? มีอยู่ 2 ประเด็นคือ หนึ่ง ต้องเข้าใจว่าการวิเคราะห์นี้เกิดขึ้นภายใต้ หลักการที่ว่าด้วย สิทธิเด็ดขาดของเจ้าหน้าที่กงสุลในการใช้ดุลยพินิจ ซึ่งหมายความว่า ไม่ว่าสิ่งที่เจ้าหน้าที่กงสุลพบจากการค้นหาข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไร โดยพื้นฐานแล้วก็ไม่สามารถที่จะดำเนินการกำกับดูแลด้านตุลาการได้ นั่นคือ คุณไม่สามารถอุทธรณ์ได้เลย คุณไม่สามารถที่จะฟ้องร้องเกี่ยวกับการตัดสินใจปฏิเสธโดยเจ้าหน้าที่ที่ออกวีซ่า โดยเฉพาะถ้าเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างประเทศ สำหรับแผนกวีซ่าชั่วคราว โดยเฉพาะวีซ่านักท่องเที่ยวจะไม่มีขั้นตอนสำหรับยื่นอุทธรณ์ ขอเน้นย้ำอีกครั้งว่านี่คือสิ่งสำคัญ คือไม่ว่าเจ้าหน้าที่กงสุลจะพบข้อเท็จจริงอย่างไรก็ตาม คุณก็ต้องยึดถือตามนั้น ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นโดยเฉพาะในการวิเคราะห์เรื่องความผูกพันหลวมๆ เมื่อเราเห็นวีซ่าประเภทนักท่องเที่ยวเข้าสหรัฐฯ ถูกปฏิเสธ ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยมาก ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นนานๆที มีหลายคนที่ติดต่อเราบอกว่า "ผมไปยื่นขอวีซ่านักท่องเที่ยว แต่โดยสรุปแล้วก็คือถูกปฏิเสธ" ซึ่งมันเป็นสิ่งที่น่าเสียดาย แต่นั่นคือสิ่งที่คุณต้องระวังตามมาตราที่ 214B ของกฎหมายว่าด้วยการเข้าเมืองและสัญชาติที่กล่าวแล้ว อันเป็นผลให้วีซ่าประเภทนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่ยื่นในกรุงเทพฯถูกปฏิเสธ