Legal Services & Resources
Up to date legal information pertaining to Thai, American, & International Law.
Contact us: +66 2-266 3698
เปรียบเทียบนโยบายการออกใบอนุญาตทำงานระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐฯ
For the English transcript of this video, please go to the following link:
วีดีโอเรื่องนี้จะกล่าวถึงนโยบายเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตทำงานของประเทศไทยและสหรัฐฯ หรือนโยบายการอนุญาตทำงาน ผมคิดจะทำวีดีโอเรื่องนี้ ซึ่งผมจะเอาภาพขึ้นบนจอให้ดู เข้าใจว่าจะเป็นภาพตัดมาจาก Fox News แล้วมีคนส่งต่อๆกันในอินเทอร์เน็ต และผู้ที่รับชมวิดีโอในช่องนี้คงจะรู้ดีว่าผมเป็นพวกที่คอยเฝ้าตามดูเรื่องการเข้าเมือง แล้วก็มีเรื่องนี้โผล่ขึ้นมาในบริบทเรื่องการเข้าเมือง ซึ่งดูเหมือนจะเป็นข้อเสนอร่วมของสองพรรคที่เกิดขึ้นใน Capitol Hill ในการอนุญาตให้ทำงาน; เป็นวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นที่ชายแดนที่เลิศจริงๆ คือมันมีวิกฤตการณ์ที่ชายแดนเกี่ยวกับผู้คนที่หลั่งไหลเข้าสหรัฐฯอย่างผิดกฎหมาย แต่ปรากฎว่านโยบายที่คิดได้คือ "ออกใบอนุญาตให้ทำงานเลยก็แล้วกัน"
ผมได้คุยกับเพื่อนร่วมงานรวมทั้งอีกหลายคนที่เป็นทนายความที่ทำงานเกี่ยวกับการเข้าเมืองของสหรัฐฯและผมก็เข้าใจ ผมไม่ใช่พวกที่ไม่เห็นอกเห็นใจต่อชะตากรรมของผู้เข้าเมืองที่ไม่มีเอกสาร ผมขอพูดให้ชัดเจนก่อนว่า คำเรียกที่ถูกต้องตามกฎหมายสำหรับคนพวกนี้คือ "คนต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย" และผมก็ปฏิเสธที่จะเปลี่ยนคำเรียกที่ดูจะเป็นคำที่ฟุ่มเฟือยนั้น เพราะผมทำงานกับผู้ที่ผ่านตามกระบวนการอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นหลัก ซึ่งลูกค้าเหล่านั้นจะต้องผ่านขั้นตอนที่ซับซ้อนมากและโบราณมาก เพื่อเข้าสหรัฐฯก่อนที่เขาจะสามารถตั้งความหวังว่าจะได้รับอนุญาตให้ทำงานได้ ฉะนั้น การที่เห็นคนต่างด้าวผิดกฎหมายลักลอบเข้าประเทศ แล้ว Capitol Hill ก็แก้ปัญหาโดยอนุญาตให้คนเหล่านั้นทำงานได้ทุกคน ผมมองว่ามันแย่มาก และน่าโมโหมากทีเดียว มันดูเหมือนจะเป็นการดูถูกผู้คนที่มาจากประเทศอื่นที่ไม่มีความสามารถที่จะเดินท้าเร่ร่อนเข้าสหรัฐฯด้วยตัวเอง
เพราะฉะนั้น สิ่งที่อยากจะให้เข้าใจจากวีดีโอเรื่องนี้คือ ก่อนอื่น คุณคงเห็นได้ชัดเจนว่าผมงุนงงกับนโยบายของสหรัฐฯในประเด็นของพวกต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย และการอนุญาตให้ทำงานที่ตามมา ในประเทศไทยไม่มีอะไรที่คล้ายๆแบบนี้เลย ไม่มีทางที่จะเข้าเมืองไทยมาอย่างผิดกฎหมายแล้วจะได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการให้ทำงานได้ ในความเป็นจริง ถ้าพบว่าคุณอยู่ในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย คุณก็จะโดนกักตัว และคงจะโดนเนรเทศ รวมทั้งอาจถูกห้ามเข้าประเทศอีก นั้นคืออย่างแรกที่ต้องทำความเข้าใจ คราวนี้ก็มาถึงประเด็นที่ผมจะเปรียบเทียบระหว่างใบอนุญาตทำงานของประเทศไทยกับสหรัฐฯอย่างกว้างๆหรือนโยบายการอนุญาตให้ทำงาน คือในประเทศไทย เท่าที่ผมเห็นมาไม่มีระบบโควต้า ดังนั้น ถ้าหากคุณมีคุณสมบัติครบถ้วนและเข้าประเทศมาอย่างถูกกฎหมาย เช่นได้รับวีซ่าทำงาน มีผู้สนับสนุนจากองค์กร หรือจัดตั้งบริษัทของคุณเอง แล้วขอใบอนุญาตทำงานด้วย วิธีนั้นจะไม่มีโควต้าเลย จะไม่มีการจำกัดว่าจะสามารถทำแบบนี้ได้กี่ราย เป็นที่ยอมรับกันว่าในประเทศไทยคงจะมีคนที่ต้องการได้เอกสารอนุญาติทำงานแบบนั้นไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับความต้องการในสหรัฐฯ แต่บ่อยครั้งที่พบว่ามีโควต้า เช่นวีซ่า H-1B ซึ่งเป็นวีซ่าสำหรับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญสูงที่อยากทำงานในสหรัฐฯ ผมพบว่ามันน่ากระอักกระอ่วนอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะในกรณีที่กลุ่มคนเหล่านั้น หลายคนได้รับการศึกษาในสหรัฐฯ; คือเรียนจบในระดับสูงๆ ผมเคยไปร่วมพิธีรับปริญญาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย Texas ที่เมือง Austin ซึ่งผู้ที่จบทั้งปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก จะเข้าพิธีในเวลาเดียวกัน และเมื่อผ่านไปถึงระดับสูงๆแล้ว ผมสังเกตได้ว่าผู้ที่ทำปริญญาเอกจะเป็นผู้ที่มาจากชาติอื่นเกือบทั้งนั้น โดยเฉพาะในวิชาวิศวกรรมศาสตร์ และตามที่ผมเข้าใจ อันเนื่องมาจากนโยบายการเข้าเมืองของสหรัฐฯ กลุ่มคนเหล่านั้นก็จำเป็นที่จะต้องกลับไปที่บ้านเกิดของตัวเอง แทนที่รัฐจะออกใบอนุญาตให้บุคคลเหล่านั้นได้ทำงานในสหรัฐฯ พวกเขาจบการศึกษาจากสหรัฐฯ ดังนั้น สหรัฐฯก็ควรจะได้ประโยชน์จากการศึกษาของพวกเขา มันก็เป็นเหตุเป็นผลดีนะ และพวกเขาก็ต้องการที่จะได้รับอนุญาตให้ทำงานเพื่อที่จะอยู่ในสหรัฐฯอย่างถูกต้องตามกฎหมายด้วย นั่นเป็นอีกแง่มุมหนึ่งที่ผมเห็นว่านโยบายเกี่ยวกับการอนุญาตให้ทำงานของสหรัฐฯสู้ของประเทศไทยไม่ได้ เพราะในประเทศไทย ถ้าหากคุณมีคุณสมบัติครบถ้วน ก็ไม่ต้องมีข้อกังวลเรื่องโควต้าเหมือนในสหรัฐฯ ซึ่งโควต้าก็จะมีอยู่น้อยพอสมควรและกระบวนการของการที่จะเข้าไปอยู่ในกลุ่มที่ได้รับโควต้านั้น ก็โบราณและยุ่งยากอีกด้วย
เพราะฉะนั้น โดยสรุป สิ่งที่ผมกำลังจะบอกคือนโยบายเกี่ยวกับใบอนุญาตทำงานสำหรับผู้ที่เข้าประเทศอย่างถูกกฎหมาย ผมคิดว่าประเทศไทยเดินในทางที่ดีแล้วและเมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว นโยบายโดยรวม ดีกว่าสหรัฐฯ