Legal Services & Resources
Up to date legal information pertaining to Thai, American, & International Law.
Contact us: +66 2-266 3698
"วีซ่าแบบเชงเก้น" สำหรับภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ติดขัดอยู่ก็เพราะระบบราชการ
For the English transcript of this video, please go to the following link:
วีดีโอเรื่องนี้จะพูดถึงระบบการเข้าเมืองของกลุ่ม ASEAN ในรูปแบบเดียวกับกลุ่มประเทศเชงเก้น ซึ่งผมเคยพูดถึงแนวความคิดเรื่องการทำวีซ่า ASEAN มาหลายปีแล้ว ว่ากันตามจริง มันก็เหมือนกับการพูดถึงตัวยูนิคอร์นที่อาจจะมีอยู่ในม่านหมอกบริเวณสุดขอบฟ้า และมันก็เหมือนกับการพูดถึงแนวคิด "travel bubbles" ที่กลุ่มประเทศนั้นๆตกลงที่จะเปิดประเทศให้แก่กันและกัน เพื่อให้ผู้คนสามารถเดินทางไปอีกประเทศหนึ่งได้โดยไม่ต้องกักตัว 14 วันในช่วงโควิดหรือช่วงล็อคดาวน์ก็ตาม ซึ่งเรื่องดังกล่าวก็ยังไม่บังเกิดผลเป็นจริง และผมก็คิดว่าบรรดาคนที่มีความคิดทั้งหลายก็คงจะตั้งคำถามว่า แล้วมันจะเกิดขึ้นจริงหรือ?
ผมคิดจะทำวีดีโอเรื่องนี้หลังจากที่ผมได้อ่านบทความจาก Pattaya Mail, pattayamail.com, หัวข้อเรื่องว่า: Visa differences impede progress towards a Schengen-style south east Asia. ความแตกต่างของวีซ่าระหว่างประเทศต่างๆในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้จะเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าสู่วีซ่าแบบเชงเก้น ครับ แนวคิดทั้งหมดในเรื่องที่จะใช้วีซ่าแบบเชงเก้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เหมือนกับในยุโรปที่คุณสามารถใช้วีซ่าใบเดียวก็สามารถที่จะเดินทางเข้าประเทศต่างๆในกลุ่มเชงเก้นได้ เมื่อใดก็ตามที่คุณเดินทางเข้าไปในประเทศใดประเทศหนึ่งแล้ว คุณก็สามารถที่จะเดินทางต่อไปยังประเทศอื่นๆในกลุ่มได้โดยรอบ นั่นคือความฝันของนักการเมืองหลายคนที่อยากจะทำให้เป็นความจริง ผมเองไม่มั่นใจนักว่าจะเกิดขึ้นจริงหรือเปล่าแต่ก็จะรอดู ขอยกข้อความโดยตรงจากบทความดังนี้: "การรณรงค์ของนายกรัฐมนตรีที่จะแนะนำโปรแกรมวีซ่าแบบเชงเก้นเพื่อการเดินทางได้ทั่วภูมิภาคเกิดการติดขัดขึ้นมาเพราะระบบราชการ ประเทศไทย กัมพูชา มาเลเซีย เมียนมาร์ เวียดนาม และลาว ล้วนแต่มีระเบียบเกี่ยวกับการเดินทางที่แตกต่างกัน ซึ่งดูเหมือนจะคลายปมยุ่งเหยิงออกได้ ยากพอสมควร" ครับ ก็เพราะต่างก็เป็นรัฐชาติที่ต่างก็มีนโยบายเกี่ยวกับการเข้าเมืองของตัวเอง บทความยังกล่าวต่ออีกว่า: "ยกตัวอย่างเช่น ในขณะนี้ประเทศไทยมีการยกเว้นวีซ่าและค่าวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยวจาก 93 ประเทศ ซึ่งเท่ากับครึ่งหนึ่งของประเทศเวียดนาม ในขณะที่กัมพูชาจะเรียกเก็บเงินค่าเดินทางเข้าประเทศ หรือการทำวีซ่าออนไลน์จากนักท่องเที่ยวเกือบทั้งหมดเป็นจำนวน 30 เหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ประเทศเมียนมาร์ซึ่งกำลังมีปัญหามากมาย ยืนยันให้ใช้ระบบการซื้อล่วงหน้า ซึ่งอาจจะใช้เวลาออกวีซ่าถึง 2 สัปดาห์"
ถ้าพูดถึงเมียนมาร์ก็ต้องยอมรับว่าที่นั่นมีปัญหามากมายเพราะฉะนั้นเราจะเว้นเมียนมาร์เอาไว้ก่อน แต่ก็ยังคงมีความสัมพันธ์กันอยู่ด้วยเหตุผลหนึ่งคือ กลุ่ม ASEAN ไม่เหมือนกับ EU นะครับ! ASEAN ไม่ได้เป็นกลุ่มประเทศที่มีความคล้ายคลึงกันอย่างมีนัยสำคัญทางด้านวัฒนธรรมหรือในด้านเศรษฐกิจหรือในด้านระบบการเมืองแต่อย่างใด เพราะฉะนั้น การที่จะพยายามที่จะมีวีซ่าเดียวสำหรับประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้ทั้งหมด ผมคิดว่าคงจะลำบากที่จะทำ และในขณะเดียวกัน แต่ละประเทศก็จัดลำดับความสำคัญที่ต่างกันด้วย ทางกัมพูชาก็มีเหตุผลในการเรียกเก็บเงินค่าทำวีซ่า เพราะเป็นการหารายได้เข้าประเทศ โดยที่กัมพูชาไม่ได้มีนักนักท่องเที่ยวในปริมาณที่ใกล้เคียงกับประเทศไทยหรือแม้กระทั่งเวียดนามก็ตาม จึงเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ โดยเฉพาะเมื่อมองดูถึงสิ่งที่ประเทศนี้เป็นอยู่ ผมไม่ได้ดูหมิ่นต่อชาวกัมพูชา หรือประเทศกัมพูชาแต่อย่างใด แต่ก็ต้องยอมรับว่ากัมพูชาไม่ได้เป็นประเทศที่ร่ำรวยมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆใน ASEAN เพราะฉะนั้น นี่จึงเป็นแรงผลักดันในการหารายได้ให้เพิ่มมากขึ้นอย่างฉับพลันในเขตกฎหมายของตน เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆเช่นไทยและเวียดนาม
เพราะฉะนั้น สิ่งที่อยากจะให้เข้าใจจากวีดีโอเรื่องนี้คือ ในขณะที่ยังมีระบบราชการเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ก็คือเรื่องการเข้าเมืองนั่นแหละ มันมีประโยคยอดเยี่ยมอันหนึ่งจากหนังเรื่อง Jackie Brown ที่ Michael Keaton พูดกับ Jackie Brown - ซึ่งเป็นตัวละครในหนัง - เขากล่าวว่า "เราจะไปเจรจากับศุลกากรก็ได้ถ้าคุณต้องการ แต่ผมไม่รู้อะไรเกี่ยวกับการงานของเขาเลยนะ เพียงแต่รู้ว่ามันเป็นงานที่ทำให้ผู้คนต้องยุ่งยากลำบากสาหัสนะว่าอาชีพนั้นเป็นอย่างไรแต่เป็นสิ่งที่ยากมากที่จะเป็นมิตรกับคนเหล่านั้น" ซึ่งก็มีส่วนคล้ายกัน คือการเข้าเมืองเป็นงานที่หนัก และบุคคลที่ทำงานในอาชีพนั้นก็จะมีแนวความคิดชนิดหนึ่ง และแนวความคิดก็คือไม่ได้มีความต้องการที่จะร่วมมือกับระบบการเมืองของประเทศอื่น หรือเขตกฎหมายอื่น แนวความคิดของพวกเขาก็คือ ยึดกฎหมายการเข้าเมืองของประเทศตัวเองและปฏิบัติตามนั้น เพราะฉะนั้น ถ้าจะถามผมว่าผมคิดว่า วีซ่าที่จะมาใช้ทั่ว ASEAN จะเป็นไปได้หรือไม่? ผมคิดว่าเป็นไปได้ แต่ถ้าจะถามว่าจะเกิดขึ้นเร็วๆนี้หรือไม่? ผมว่าคงจะไม่