Legal Services & Resources
Up to date legal information pertaining to Thai, American, & International Law.
Contact us: +66 2-266 3698
วีซ่าอเมริกันจากประเทศไทย กฎระเบียบของสถานทูตและการตรวจสอบความเป็นมาของตำรวจ
Please see English language transcript at: Thai police clearance.
วีดีโอฉบับนี้จะกล่าวถึงเรื่องการตรวจสอบประวัติโดยตำรวจในแง่ของการขอวีซ่าครอบครัวซึ่งจะกล่าวในกรณีเฉพาะวีซ่าคู่หมั้นหรือวีซ่าคู่สมรส แต่เนื่องจากการขอวีซ่าชั่วคราวอาจจำเป็นต้องกมีการตรวจสอบประวัติโดยตำรวจเช่นกัน จึงอาจมีข้อมูลที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่จะขอวีซ่าชั่วคราว
การตรวจสอบประวัติโดยตำรวจมีความจำเป็น โดยเฉพาะในกรณีที่มีพลเมืองอเมริกันมาเกี่ยวข้องโดยการเป็นผู้ยื่นคำร้อง สิ่งที่ควรทราบคือ การตรวจสอบประวัติโดยตำรวจเป็นขั้นตอนสุดท้ายซึ่งจำเป็นมากก่อนที่จะจบกระบวนการทางกงสุลสำหรับการยื่นคำร้องขอวีซ่า K-1 ประเภทคู่หมั้น หรือวีซ่าถาวรอื่นๆ ซึ่ง การตรวจประวัติจะเป็นส่วนหนึ่งของ “ห่อหมายเลข 3” (packet 3) สิ่งที่ตำรวจต้องตรวจสอบคือประวัติและบันทึกของศาลเพื่อที่จะตรวจสอบว่าผู้ที่กำลังขอไปอาศัยอยุ่ในสหรัฐฯ เคยมีคดีหรือถูกจับกุมในประเทศไทยหรือไม่ ซึ่งบางครั้งการตรวจสอบโดยตำรวจอาจมีการพบข้อมูลบางอย่างที่อาจเป็นเหตุผลทางกฎหมายที่สหรัฐฯจะไม่อนุญาติให้บุคคลผู้นั้นเข้าสหรัฐฯ เช่น อาจมีประวัติเกี่ยวกับคดีอาญาเป็นต้น และการที่ตำรวจตรวจสอบแล้วออกใบรับรองจึงเป็นสิงที่จำเป็นเพื่อนำไปเป็นหลักฐานประกอบการยื่นคำร้องเพื่อที่จะเข้าสหรัฐฯได้ ซึ่งทำได้โดยการใช้คำร้องยกเว้น I- 601 (I-601 waiver).
กระบวนการนี้ ต้องดำเนินการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยสำนักงานจะส่งทนายไปอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าผู้ยื่นคำร้อง ซึ่งขั้นตอนการขอใบรับรองจากตำรวจว่าไม่มีคดีค้าง จะใช้เวลาประมาณ 7-10 วันโดยประมาณ สาเหตุที่จำเป็นต้องมีใบรับรองจากตำรวจคือ กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ มีกฎว่าจะต้องตรวจสอบอย่างละเอียดว่าผู้ที่กำลังจะรับการอนุมัติให้เข้าประเทศไม่ได้เป็นอาชญากร ดังนั้นการรับรองโดยตำรวจจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก นอกจากนี้ศูนย์วีซ่าแห่งชาติก็มองว่าผลการรับรองโดยตำรวจเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน และศูนย์วีซ่าแห่งชาติเองก็จะทำการตรวจประวัติเช่นกัน
นอกจากนี้ สิ่งที่ผมอยากแนะนำเพิ่มเติมคือ ถ้าหากผู้ที่ยื่นคำร้องเคยอาศัยอยู่ในประเทศอื่นที่ไม่ใช่ประเทศบ้านเกิดเป็นเวลา 6 เดือนหรือมากกว่า (หลังจากที่อายุครบ 18 ปีแล้ว) ขอแนะนำว่าควรจะรับใบรับรองจากตำรวจในประเทศนั้นเช่นกัน เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการถูกปฏิเสธโดยหมาย 221 (g) (ซึ่งมีรายละเอียดเพิ่มเติมในวีดีโอฉบับอื่น)
ดังนั้น สรุปได้คือ ในแง่ของผลการรับรองโดยตำรวจในประเทศไทย จะรับเอกสารรับรองเหล่านี้ได้จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งจะต้องไปพิมพ์ลายนิ้วมือเพื่อทำการตรวจสอบประวัติผ่านระบบ (เฉพาะพลเมืองไทย) ส่วนพลเมืองไทยที่เคยอาศัยในต่างประเทศ (ที่ไม่ใช่สหรัฐฯ) เป็นระยะเวลานาน อาจจำเป็นต้องขอใบรับรองจากตำรวจประเทศนั้นเช่นกัน ซึ่งแต่ละประเทศมีวิธีการดำเนินการแตกต่างกันไป นอกจากนี้ อาจมีบางประเทศที่ไม่จำเป็นต้องออกใบรับรองจากตำรวจ และ/หรือ กระทรวงต่างประเทศของสหรัฐฯ อาจไม่ต้องการก็เป็นได้ (ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเทศอื่นจะหาได้ทางอินเทอร์เน็ตขอประเทศนั้นๆ)